Wednesday, September 11, 2013

วิธีการเพาะปลูก
การเตรียมดินและแปลงปลูก | การเพาะกล้าการเพาะกล้า และการย้ายกล้า | การเด็ดแขนง | การเตรียมค้างผูกเชือก และขึ้นยอด | การตัดแต่งแขนงและไว้แขนงก่อนผสม | การผสมเกสร | การคัดเลือกผล | การแขวนผล | การพัฒนาของผลและการเก็บเกี่ยว | การเก็บเกี่ยว | โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อน | แมลงที่สำคัญ
 
Show as multiple pages
การเตรียมดินและแปลงปลูก
ดินที่เหมาะกับการเจริญต้องประกอบด้วย แร่ธาตุอาหาร 45%สารอินทรีย์ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25%
ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 เนื่องจากแตง เมล่อนมีระบบรากแก้วอาจเจริญในแนวดิ่งลึก 80-120 cm.รากแขนงจะเจริญในแนวนอนอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับ 30 cm.จากผิวดิน
การเตรียมดินควรไถดะหน้าเพื่อตากแดดฆ่าเชื้อโรคประมาณ 14 วัน(โดยปิดโรงเรือนให้มิดชิดพยายามไม่ให้มีอากาศภายในและภายนอกมีการถ่ายเทอากาศ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในโรงเรือนให้สูงมากยิ่งขึ้น 
หากเป็นพื้นที่ ที่มีการเพาะปลูกติดต่อมาหลายครั้ง ควรกระทำดังนี้
1. พักแปลงการเพาะปลูกประมาณ 3-4 เดือน
2.  สลับการเพาะปลูกพืชตระกูลถั่ว
3. เปลี่ยนพืชการเพาะปลูกเป็นชนิดอื่น
4. ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  
 
โดยไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 20-30 cm.ให้ใส่ปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก พร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แล้ว ไถแปร    พรวนดินและยกแปลงปลูกสูง 30 cm.ระยะห่างระหว่างสันแปลง 1.5 เมตร (ก่อนคลุมแปลงให้วางสายน้ำหยดก่อน โดยวางสายให้หัวน้ำหยดหงายอยู่ข้างบน) คลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกัน     วัชพืชและรักษาความชื้นของดินพลาสติกเจาะหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 45 X 60 cm

การเพาะกล้าการเพาะกล้า และการย้ายกล้า
 
ลักษณะต้นกล้าที่ดี   ( ใส่ภาพการเพาะกล้า )
ต้นแข็งแรงและโตสม่ำเสมอได้ตามอายุ
ตรงตามลักษณะสายพันธุ์
ปราศจากโรคและแมลง
  
 
วิธีการเพาะกล้า
 1. การบ่มเมล็ด
 

1.1 นำเมล็ดพันธุ์เมล่อนแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมกับ อโทนิค 1 ซี.ซี. โดยให้เมล็ดทุกส่วนถูกน้ำ แช่เมล็ดนาน 20 นาที
1.2 นำเมล็ด(ไม่ควรวางหนาแน่นเกินไป )มาวางในกระดาษเพาะกล้าหรือผ้าขาวบางชุบน้ำมาดๆ แล้วจึงห่อเมล็ด
1.3 ห่อกระดาษเพาะเมล็ดอีกครั้งด้วยถุงพลาสติกใสหรือถุงใส่แกง เก็บในที่อุณหภูมิ 28- 30 องศาเซลเซียส โดยใส่ในภาชนะที่มิดชิด เช่น กระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิ นานประมาณ  24 ชั่วโมง
 
 
  
 
*คำแนะนำ   เมื่อเปิดซองเมล็ดพันธุ์แล้วควรเพาะให้หมดในคราวเดียว เพราะเมล็ดพันธุ์ที่เหลือเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลง จึงควรเลือกซื้อปริมาณตามความต้องการใช้ *
  
 2. การเพาะกล้า
 

 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอสเจียไต๋ ถุงสีเหลือง ผสมกับ เวอร์มิคูไลท์ ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 เป็นวัสดุเพาะ) ลงในถาดเพาะกล้าขนาด 50 หลุม ไม่แน่นเกินไป รดน้ำให้ชุ่ม
 นำเมล็ดจากข้อ 1.3 มาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ
 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดด
 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 10 - 12 วัน
 
 
 
  
 3. การย้ายกล้า
 
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 2 ใบ หรืออายุไม่เกิน 12 วัน(หลังจากหยอดเมล็ด) ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
 
 
• หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อนปลูกอย่างน้อย 1 วัน
 ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่มและพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช
 ควรย้ายกล้าในช่วง เย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด
 หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า
 ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต(ควรฉีดยาป้องกันเชื้อรา)
 เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้น
 กลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า

การเด็ดแขนง
ให้เด็ดแขนงข้อที่ 1 – 8 ออก เมื่อเมล่อนอายุ 9 - 14 วันหลังย้ายปลูก
การเด็ดแขนงควรทำในขณะที่แขนงยังมีขนาดเล็ก และทำในตอนเช้าจะทำให้แผลแห้งเร็ว แล้วให้ฉีดพ่นสารกันเชื้อราในตอนเย็น
เมื่อเด็ดออกจะทำให้ยอดแตงเจริญเติบโตได้เร็ว

การเตรียมค้างผูกเชือก และขึ้นยอด
การขึ้นยอดควรทำช่วงเช้า
ควรจัดเถาเมล่อน 1 เถาต่อต้น เมื่อเมล่อนเริ่มทอดยอด ให้พันยอดกับเชือก 2 วันต่อครั้ง อย่าปล่อยให้ยอดเลื้อย

การตัดแต่งแขนงและไว้แขนงก่อนผสม
 ตำแหน่งที่ไว้แขนงผสมดอก
ให้เลี้ยงแขนงข้อ 9 -12 เอาไว้ผสม
ควรเด็ดยอดแขนงให้เหลือ 2 ใบ
เหนือข้อที่ 12 ให้เด็ดแขนงย่อยออก
เด็ดยอดในข้อที่ 25 ให้มีจำนวนใบ 22 - 25 ใบ

การผสมเกสร
 ดอกเมล่อนเป็นสมบูรณ์ คือมีเกสรตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
ดอกตัวผู้จะอยู่ระหว่างข้อบนลำต้น
การผสมเกสรควรทำในตอนเช้าเวลา 7.00 – 10.00 น.
เลือกผสมดอกเพียง 2 - 3 แขนงต่อต้น
ควรจดบันทึกที่ดอกบานหรือจำนวนดอกที่ผสมในแต่ละวัน(ใช้ไหมพรมหลากสีพันขั้วผล เพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยว)
ให้ฉีดพ่น นูริช อัตรา 15 ซีซี/ 20 ลิตร ทุกๆ 3 วัน ประมาณ 2 สัปดาห์

การคัดเลือกผล
 เลือกแขนงที่มีผลรูปทรงไข่ ผลใหญ่
ผลสมบูรณ์ที่สุด ไม่มีรอยขีดข่วน
ไม่มีโรค และแมลงเข้าทำลาย
เมื่อได้ลูกที่สมบูรณ์แล้ว ควรตัดลูกที่ไม่ต้องการทิ้งให้เหลือไว้เพียง 1 ผล
ควรปรับเพิ่มปริมาณการให้น้ำและปุ๋ยเพื่อให้ผลโตได้เต็มที่ไม่เกิน 18 วันหลังผสมเกสร
ให้นำเชือกมาแขวนผลให้อยู่ในที่โปร่งและได้รับแสงสม่ำเสมอ

การแขวนผล
 ใช้เชือกคล้องที่ขั้วผลไว้เพื่อรับน้ำหนัก โดยยึดผลไว้กับค้างที่ยึดต้นเมล่อน
ควรแขวนผลให้ขนานกับพื้นเพื่อความสะดวกในการปฎิบัติงานในฟาร์ม

การพัฒนาของผลและการเก็บเกี่ยว
 อายุผล ฤดูร้อนประมาณ 40 วัน, ฤดูฝนประมาณ 43 วัน  และฤดูหนาวประมาณ 45 วัน
วัดความหวานด้วย Hand Refractometer (แบบคั้นน้ำ) ลูกอ่อน 12 brix, ลูกแก่13 brix ในช่วงระยะผลสุกแก่ เมล่อนจะต้องการน้ำน้อยลง 

การเก็บเกี่ยว
 สีผลเขียวเข้มและตาข่ายขึ้นนูนชัดเจน เต็มผล
นับอายุผลหลังการผสมดอก 43-45 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ขั้วผลยกนูน หรือมีแนวแยกตามยาวที่ก้านผล
ถ้าก้นผลนิ่มแสดงว่าสุกมากเกินไป
สภาพต้นต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค
ระหว่างการเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรตั้งผลเมล่อนบนพื้นดิน ควรจัดหาภาชนะมารองรับ
ผลเมล่อนไม่ควรตากแดดหรือตั้งในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรเคลื่อนย้ายมายังที่ร่มหรืออุณหภูมิต่ำเพื่อลดอัตราการหายใจของผลผลิต

โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อนมีดังต่อไปนี้

1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt)
 เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ

เชื้อสาเหตุ : 
Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races)

ลักษณะอาการ : 
เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายอย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย

การป้องกันกำจัด• ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5
• ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค
• ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา
• ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน

2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight )  


เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae )
เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง

การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
• การปลูกพืชหมุนเวียน
• ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
• ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค

3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) 


เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle
Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน

การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจายโดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำค้างได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูลแตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ
 การป้องกันและการกำจัด
• การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
• บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น
• ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้
• ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด

4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) 


เชื้อสาเหตุ  : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew
เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะอาการ :  อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง 
การป้องกันกำจัด :
• ใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3  ครั้ง
• ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ  เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน
• ใช้พันธุ์ต้านทาน

แมลงที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ ( Thrips , Haplothrips floricola Priesner )

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชตระกูลแตงหลายชนิด เช่น แตงโม เมล่อน โดยการดูดน้ำเลี้ยง และใช้ปากเขี่ยเซลให้เป็นแผลเพื่อดูดน้ำเลี้ยง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนการเจริญเติบโต จะทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น เติบโตช้า พืชอ่อนแอ และทำให้ใบ ลำต้น แห้งตายได้ เพลี้ยไฟจะมีการแพร่กระจายโดยลม ทำให้การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด 
• ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้สารเคมี โดยการใช้ ชอสแมค 30 ซีซี + สารน้ำมัน         ดีซีตรอน พลัส 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้สารเคมี อื่นๆ ควบคู่กันไปเช่น ทามารอน แอมมิรอน นูวาครอน อะโซดริน แลนเนท เมซูโรล

2. แมลงวันทอง ( Melon Flies , Dacus spp)

แมลงวันทองจะทำลายโดยการเจาะและวางไข่ที่ผล ตัวอ่อนถ้ามีการระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงเน่า หรือแก่ก่อนเวลา ทำให้ได้ผลมีคุณภาพต่ำ
การป้องกันกำจัด
• ใช้เมททิล ยูจินอล เป็นเหยื่อล่อ โดยทำการผสมกับ มาลาไทออน อัตรา 100 : 200 ฉีดเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณ 1-2 เมตร
• ฉีดพ่น เมซูโรล , ฟอริดอน 50 % EC อัตรา 0.2 % ดิปเทอเร็ก 80 % WP อัตรา 0.3 % Lebaycid 50 % EC อัตรา 0.26 % ใช้กระดาษห่อผลหลังจากผสมดอกแล้ว


3. เต่าแตง ( Cucurbit Leaf Beetle , Yellow Squash Beetle ) 

โดยปกติทั่วไปเต่าแตงจะมีสีของลำตัว 2 สี คือ ชนิดสีดำ ( Aulacopphola frontalis Baly ) และเต่าแตงชนิดสีแดง (Aulacopphola semilis Oliver.) เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีทั้งสีแดง สีน้ำตาลเกือบดำ แต่สีแดงจะพบเห็นมากกว่า อย่างไรก็ตามในต่างประเทศลักษณะของเต่าแตงจะมีสี และ ลักษณะต่างกันออกไปเช่นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน การเข้าทำลายจะเข้าแทะกัดกินใบและยอดอ่อน นอกจากนี้เต่าแตงยังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสได้อีกด้วย
การป้องกันกำจัด
• ป้องกันโดยการใช้ น๊อคทริน 25 % อัตรา10 - 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
• การใช้สารเคมีชนิดอื่นๆเช่น เซฟวิน ธีโอดาน ทามารอน ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วัน

4. แมลงหวี่ขาว 

แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพืชตระกูลแตงค่อนข้างกว้างขวาง มีหลายชนิด เช่น Greenhouse whitefly
( Trialeurodes vaporariorum) Silverleaf whitefly ( Bemesia argentifolii ) โดยทั่วไปแมลงหวี่ขาวจะอยู่บริเวณใต้ใบอ่อน แมลงชนิดนี้จะเป็นพาหะของโรค ไวรัส ในพืชตระกูลแตงหลายชนิด

การป้องกันกำจัด 
• ใช้สารเคมีในการกำจัดเช่น เมธามิโดฟอส อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร
• สารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น ไบเฟนทริน  เพอร์มีทรีน เอนโดซัลแฟน (ไทโอดาน) ออกซามิล (ไวเดท แอล) อิมิดาโครพริด
หมายเหตุ : การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ความหนาแน่นของแมลง สภาพอากาศ อุณหภูมิ และผลเสียที่ได้รับจากโรคและแมลง สารเคมีควรใช้ในอัตรา กลาง – ต่ำ และควรฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น และงดการใช้สารเคมีทุกชนิดก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 – 10 วัน

บันทึกไว้เป็นเกียรติ

"เมล่อน" จัดได้ว่าเป็นผลไม้ปราบเซียน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีราคาสูงกว่าผลไม้อื่น จึงดึงดูดให้เกษตรกรหลายคนสนใจอยากปลูก แต่เมื่อลงมือปลูกจริง เกษตรกรส่วนใหญ่กลับประสบความล้มเหลวขาดทุน เพราะผลผลิตไม่ได้คุณภาพและต้นทุนสูง ปัจจุบันเหลือเกษตรกรที่ผลิตเพื่อจำหน่ายตลาดบนได้ไม่กี่ราย

คุณสุวิทย์ ไตรโชค อยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. (081) 818-0233 ตัวอย่างเกษตรกรมืออาชีพที่มีชื่อเสียง เรื่องการปลูก "เมล่อน" (คนไทยส่วนใหญ่เรียก เมล่อน ว่า "แคนตาลูป") คุณภาพ มานานกว่า 20 ปี

โดยคุณสุวิทย์เล่าว่า อาชีพเดิมนั้นไม่ใช่เกษตรกร โดยทำงานประจำคือ เป็นวิศวกรที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แต่ด้วยใจรักการเกษตรจึงทำเกษตรเป็นอาชีพเสริม โดยมีความสนใจปลูกเมล่อนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากสังเกตว่า เมล่อน มีราคาสูง ราคาจูงใจมาก โดยตนเองเริ่มทดลองปลูกเมล่อน ตั้งแต่ ปี 2529 แต่ปรากฏว่า 5 ปีแรก ประสบปัญหาขาดทุน เพราะเป็นช่วงของการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกทั้งวิธีการปลูก สายพันธุ์เมล่อน และแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูก

กระบวนการเรียนรู้เริ่มจากการทดลองในพื้นที่ขนาดเล็ก 5-10 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของครอบครัว ควบคู่ไปกับการทำงานหลัก จนในที่สุดประสบผลสำเร็จคือ สามารถปลูกเมล่อนนอกโรงเรือนได้สำเร็จ โดยเฉพาะเมล่อนสายพันธุ์ตาข่ายจากญี่ปุ่น ที่มีราคาขายในท้องตลาดค่อนข้างสูง ซึ่งแตกต่างกับผู้ปลูกเมล่อนบางราย ที่ต้องปลูกเมล่อนในโรงเรือนที่มีต้นทุนในการก่อสร้างโรงเรือนสูงมาก เมื่อประสบความสำเร็จ มีความรู้ในด้านการผลิต และสามารถทำตลาดได้ระดับหนึ่งแล้ว คุณสุวิทย์จึงตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนอย่างเต็มตัว และยังได้สร้างเครือข่ายการปลูกเมล่อนไปยังเกษตรกรที่มีความสนใจ โดยรับซื้อเมล่อนคืนในราคาประกัน

ข้อคิดการปลูกเมล่อนให้ได้กำไร คุณสุวิทย์ เห็นว่า การปลูกแตงเมล่อน ถ้าเทคโนโลยีไม่เหมาะสมจะทำให้ต้นทุนสูง และนำไปสู่การขาดทุนได้ การผลิตเมล่อนให้มีคุณภาพดีและออกผลสม่ำเสมอนั้น ความยากจะอยู่ที่การจัดการทั้งด้านพันธุ์ น้ำ ปุ๋ย และการควบคุมศัตรูพืช เพราะเมล่อนเกิดโรคเชื้อราได้ง่าย เกษตรกรบางรายจึงต้องย้ายพื้นที่ปลูกตลอดเวลา และยังมีปัญหาการผลิตให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดระดับบนซึ่งมีอำนาจซื้อสูงจะยอมรับได้ เพราะแตงเมล่อนที่จะขายได้ราคาดีจะต้องมีขนาดลูกสม่ำเสมอ มีความหวานที่ได้มาตรฐานเมื่อเกษตรกรไม่สามารถทำคุณภาพได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ก็ย่อมเกิดปัญหาทางการตลาดตามมา และทำให้เกษตรกรหลายรายต้องเลิกปลูกแตงเมล่อนไปในที่สุด

"สายพันธุ์เมล่อน ต้องดี ต้องใช้พันธุ์ที่ดีมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ผลิต โดยเฉพาะเมล่อนสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ที่คุณสุวิทย์ต้องใช้ความอดทนรอคอยหลายปีกว่าที่เจ้าของพันธุ์เมล่อนจะยอมขายเมล็ดพันธุ์ให้ ถึงเมล็ดพันธุ์จะมีราคาแพง แต่ก็นับได้ว่าเมื่อปลูกแล้วได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วในแต่ละปีต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากญี่ปุ่นและประเทศต่างๆ มาปลูกเพื่อทดสอบสายพันธุ์ นับ 100 สายพันธุ์ เพื่อหาสายพันธุ์ที่ดี บางครั้งปลูกทดสอบนานถึง 5 ปี อาจจะพบสายพันธุ์ที่ดีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น แต่ก็คุ้ม เพราะ 1 สายพันธุ์ เราใช้ประโยชน์ได้นานนับ 10 ปีทีเดียว แล้วเมล่อนจะหวานได้ สายพันธุ์ก็ต้องหวานด้วย"

ปัจจุบัน คุณสุวิทย์ ปลูกเมล่อนป้อนตลาด ประมาณ 10 สายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ โกลเด้น บอล (เปลือกสีเหลืองทอง เนื้อสีขาว), ซัน บอล (เปลือกสีขาว เนื้อสีส้ม), ฮันนี่ บอล ซึ่ง 3 สายพันธุ์นี้ เป็นเมล่อนตระกูลฮันนี่ดิว คือ "ผิวเปลือกเรียบ หวานง่าย หวานมาก ปลูกง่าย ตายยาก และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60 วัน หลังเพาะเมล็ด" ดังนั้น จึงเหมาะจะเป็นสายพันธุ์พื้นฐาน ที่ให้สมาชิกใหม่ที่เข้ากลุ่มใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ในการปลูกเมล่อนทดลองปลูกดูก่อน ให้เกิดความชำนาญเสียก่อน (ราคาประกันที่รับซื้อจากสมาชิกกลุ่ม เฉลี่ย 20-25 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งผลเมล่อนที่ปลูกจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 2 กิโลกรัม)

ส่วน เมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ตาข่าย เช่น พันธุ์ซากุระ เมล่อน (มีเนื้อสีส้มและสีเขียว ที่ญี่ปุ่นขายตั้งแต่หลักพันถึงหมื่นบาทต่อผล ที่ฟาร์มคุณสุวิทย์ ขายส่ง ผลละ 1,000 บาท ลูกค้าต้องสั่งจองล่วงหน้า เพราะจะปลูกจำนวนไม่มาก แต่จะปลูกมากที่สุดคือช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะนิยมซื้อเป็นของขวัญ), ร็อคกี้ เมล่อน (มีเนื้อสีเขียวและเนื้อสีส้ม จำหน่ายปลีก ผลละ 500 บาท), แตงโอนิชิ และแตงจิงหยวน (2 สายพันธุ์ หลังนี้ จะปลูกป้อนซุปเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายปลีก ราคากิโลกรัม 80-90 บาท) ฯลฯ

เมล่อนญี่ปุ่น ยังเป็นสายพันธุ์เมล่อนที่ปลูกยาก มีปัญหาในการปลูกมากพอสมควร อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าเมล่อนพันธุ์ผิวเรียบ คือกว่า 70 วัน แล้วเราปลูกแบบกลางแจ้ง ไม่ได้ปลูกแบบโรงเรือนที่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ เช่น เรื่อง "ฝน" เมื่อฝนตกมามาก เมล่อนดูดน้ำมาก ก็จะทำให้ผลแตกเสียหายโดยง่าย จุดอ่อนของเมล่อนญี่ปุ่นคือ ตายง่าย หวานยาก แต่คุณสุวิทย์สามารถปลูกเมล่อนทั้ง 10 สายพันธุ์ ได้ตลอดทั้งปี 

คุณสุวิทย์ บอกว่า ยังไม่ให้สมาชิกใหม่ที่มีประสบการณ์ปลูกเมล่อนน้อยปลูก เพราะจะมีความเสี่ยงและเสียหายได้สูง อาจจะทำให้เขาขาดทุน ถอดใจเลิกปลูกไปเลยก็มี เกษตรกรมือใหม่จะต้องเก่งก่อน กว่าจะเก่งก็ 3 ปี มาเป็นลูกศิษย์ผมก่อนจึงจะทำได้ ก่อนหน้า 3 ปี จะปลูกแล้วเจ๊ง ไปเรื่อยๆ มันก็ต้องให้เขาปลูกตัวที่ไม่เจ๊ง ตัวที่ง่ายๆ ก่อน คนโลภมากปลูกตัวแพงก่อน เจ๊งก็หมดเงินเลย

"ถ้าเราไม่เลิก เราไม่เจ๊ง เราแค่ขาดทุน แต่ถ้าเราเลิกเมื่อไรเราคือเจ๊ง แต่ขาดทุนเดี๋ยวเราก็เอากำไรได้แล้วจริงไหม" คุณสุวิทย์ กล่าว

ทำไม ต้องปลูกเมล่อนมากกว่า 10 สายพันธุ์ คุณสุวิทย์ อธิบายว่า ถ้าเราปลูกเมล่อนเพียงพันธุ์เดียว ซึ่งมันอาจจะเป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย ผลผลิตก็ออกมาเป็นจำนวนมาก แต่เราอาจจะขายไม่หมดในครั้งเดียวก็ได้ ประกอบกับเป็นสายพันธุ์เมล่อนราคาปานกลาง แต่พอเราปลูกเมล่อนหลายสายพันธุ์ มีตัวเลือกให้ลูกค้า มีแบบราคาที่สูงขึ้น ปรากฏว่ามันก็ขายหมดทุกพันธุ์ การที่ปลูกหลายๆ สายพันธุ์ กลับทำให้เราขายของง่ายขึ้น เพราะแต่ละพันธุ์มีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น เนื้อกรอบ, เนื้อนิ่ม, หวานจัด, หวานหอมๆ แล้วแต่ลูกค้าที่มีความชอบไม่เหมือนกัน เราก็กระจายกลุ่มลูกค้าออก เราก็มีการแบ่งเกรดเมล่อน เพื่อให้ง่ายในการทำราคา เช่น เมล่อน เกรด เอ สเปคผลต้องสวย ความหวานต้องสูงกว่า 14 บริกซ์ ขึ้นไป น้ำหนักผลประมาณ 1.5-2.2 กิโลกรัม เป็นต้น

การเตรียมแปลงปลูกเมล่อนต้องดี เป็นการยกร่องทำแปลงเหมือนการปลูกพืชทั่วไป โดยต้องการให้มีการระบายน้ำที่ดี ความยาวแปลงปลูกนั้นแล้วแต่พื้นที่ปลูก แต่แนะนำว่าความยาวแปลงปลูกควรมีความยาวไม่เกิน 50 เมตร เพราะจะได้ง่ายในเรื่องของการจัดการ เช่น การปักไม้ไผ่ เกษตรกรจะได้ไม่เหนื่อยมากที่ต้องแบกไม้ไผ่เป็นระยะไกล, วางระบบน้ำที่ความยาวไม่เกิน 50 เมตร จะได้ประสิทธิภาพดี, การเก็บผลผลิตออกจากแปลง เป็นต้น

จากนั้นเกษตรกรต้องมีการเช็กค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินว่ามีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือไม่ โดยค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสมต่อการปลูกเมล่อน คือ 5.5-6.5 ซึ่งดินที่อยุธยาส่วนใหญ่จะมีค่าความเป็นกรด ที่ 4.5-5 ก็ต้องปรับสภาพดิน โดยใช้ "ปูนขาว" ชนิดที่เป็นปูนเผา เป็นหินปูนหรือเปลือกหอยนำมาเผาจนสุก ปล่อยให้เย็นแล้วบดละเอียด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคลเซียมออกไซด์ (CaO)

โดยคุณสุวิทย์ อธิบายเรื่องของการเลือกใช้ปูนขาวในการปรับค่า pH ว่า ปูนขาวดังกล่าว เวลาเจอน้ำ มันทำปฏิกิริยากับน้ำ ปูนขาวจะร้อนมาก ซึ่งมันสามารถปรับค่า pH ดินได้เร็วและทันการ เพราะเมล่อนเป็นพืชอายุสั้น ดังนั้น จะใส่ปูนขาวในขั้นตอนการเตรียมแปลงเท่านั้น แต่พอปลูกพืชไปแล้วห้ามใส่เด็ดขาด การใส่ "ปุ๋ยคอก" ถ้าเลือกได้ จะเลือกใส่ขี้ไก่ ซึ่งแถบอยุธยาจะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อมาก ปุ๋ยคอกที่ใช้จึงเป็นขี้ไก่แกลบ ผลที่ทดลองมาหลายชนิด รู้สึกว่าขี้ไก่ดีที่สุด อาจจะเพราะขี้ไก่มีธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกอย่างอื่น และไม่ค่อยมีเชื้ออะไรติดมา เราเคยทดลองใส่มาแล้วหลายอย่าง เราพบว่ามันดีที่สุด แต่ถ้าหาไม่ได้ ใช้ปุ๋ยคอกชนิดอื่นก็ได้ แต่ควรเป็นปุ๋ยคอกเก่า

การจัดการระบบน้ำ โดยอาศัยความรู้ด้านเครื่องจักรกลที่เรียนมา คุณสุวิทย์ได้ออกแบบระบบน้ำหยดเพื่อใช้ในการปลูก ซึ่งปรับจากหลักระบบการให้น้ำของอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เมื่อเตรียมแปลงเสร็จ ก็ต้องวางระบบน้ำหยด เกษตรกรที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องมาเรียนรู้เรื่องการวางระบบน้ำหยด โดย 1 แปลง จะวางสายน้ำหยด 3 เส้น การให้น้ำจะต้องให้อย่างสม่ำเสมอ และการวางระบบน้ำนี้เองจะถูกนำมาใช้ในเรื่องของการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ ซึ่งการให้ปุ๋ยทางน้ำ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการปลูกเมล่อนให้ได้คุณภาพ เมื่อวางระบบน้ำเสร็จก็สามารถปูพลาสติกคลุมแปลงได้

การปลูกเมล่อน เริ่มต้นจากการเพาะกล้า นำเมล็ดแช่ในน้ำอุ่นสัก 6-8 ชั่วโมง ก่อน จากนั้นให้เรียงเมล็ดในถาดเพาะกล้า เคล็ดลับคือ การวางเมล็ด จะต้องวางในแนวนอน ซึ่งจะทำให้เมล็ดมีการงอกที่ดี ต้นที่งอกมาจะตรงสวย แต่เกษตรกรที่ไม่ทราบก็จะเพาะเมล็ดโดยการกดเมล็ดลงวัสดุปลูกแบบตรงๆ ผลที่ได้คือ เมล็ดงอกไม่ 100% ต้นกล้าลำต้นจะบิด ไม่สวย จากนั้นเมื่ออายุกล้าได้ประมาณ 10 วัน (ถ้าเพาะกล้าหน้าหนาว ประมาณ 15 วัน) ก็พร้อมที่จะย้ายปลูกลงแปลง

ระยะการปลูก จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และฤดูกาลการปลูก โดยเฉลี่ย 1 ไร่ จะปลูกได้ ประมาณ 2,500 ต้น โดย 1 ต้น ไว้ 1 ผล ส่วนระยะปลูกระหว่างต้น ถ้าปลูกช่วงหน้าหนาวก็ต้องปลูกระยะที่ห่างกว่า คือ ระยะ 35-40 เซนติเมตร อย่างหน้าร้อนก็ปลูกระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร เพราะระยะปลูกนั้นจะมีผลต่อขนาดของผลเมล่อนด้วย อย่างปลูกพันธุ์เดียวกัน แต่ระยะห่างต่างกัน ผลเมล่อนจะใหญ่กว่ากัน ระยะปลูกยิ่งห่างผลเมล่อนจะมีขนาดใหญ่นั่นเอง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการควบคุมขนาดผลจากการเลือกใช้ระยะปลูก

"ยกตัวอย่าง ระยะปลูก 30 เซนติเมตร จะได้เมล่อน น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ถ้าใช้ระยะปลูก 40 เซนติเมตร ก็จะได้ผลเมล่อนน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม เป็นต้น แต่เมล่อนที่มีขนาดผลใหญ่ 3 กิโลกรัม เราจะนำไปขายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่ได้ เพราะผลมีขนาดใหญ่เกินไป เราก็ต้องส่งขายที่อื่น เช่น โรงแรม ที่เขาไม่เกี่ยงเรื่องขนาดผล แต่ซื้อเขาจะไม่ซื้อในราคาที่สูงมากเหมือนซุปเปอร์มาร์เก็ต เมล่อนผลใหญ่ หนัก 3 กิโลกรัม สมมุติเราขายให้กับโรงแรม ได้ราคา กิโลกรัม 26 บาท ลูกหนึ่งได้ 78 บาท แต่ถ้าส่งห้าง 2 กิโลกรัม ขายได้ กิโลกรัมละ 36 บาท ลูกละ 72 บาท ซึ่งคนปลูกไม่มีปัญหา เพราะต้นทุนเท่ากัน เรื่องการตลาดเราขายได้หมดเลย ขอแค่ให้เมล่อนเรามีรสชาติหวานอย่างเดียวพอ คนปลูกได้เงินเหมือนเดิม แต่เมล่อนผลใหญ่ๆ ขายแพงคนก็ซื้อยากหน่อย เพราะคิดเป็นเงินออกมามันก็แพง ถ้าให้ดีเมล่อนควรจะควบคุมให้น้ำหนักอยู่ที่ลูกละ 1.8-2 กิโลกรัม กำลังดี ซื้อขายง่ายกว่า"

การปลูกเมล่อน

สภาพดินที่เหมาะสมในการปลูกเมล่อนคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง ph 6.5-7 หรือสภาพดินที่เป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศที่อบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงของการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่เมล่อนจะต้องการน้ำน้อยและเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25-35 องศาเซลเซียสจะมีการเติบโตและออกผลผลิตได้ดีในช่วงฤดูร้อน และการเจริญเติบโตจะช้าลงในช่วงของฤดูหนาว
เทคนิคการเตรียมการปลูก เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ผานเบอร์ 3 ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ผานเบอร์ 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว ในอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูก ถ้าปลูกแบบให้เลื้อยดินควรยกแปลงกว้างขนาด 3.5-4.0 เมตรถ้าปลูกแบบขึ้นค้างควรยกแปลงกว้าง 1 เมตรย่อยดินให้ละเอียดพอสมควรแต่งแปลงให้มีความกว้างบนแปลง 80 เซนติเมตร สูง 15-20 เซนติเมตร ปูฟางบนพื้นแปลงและร่องระหว่างแปลง หรืออาจใช้วัสดุอื่มคลุมแปลงก็ได้ มาดูในส่วนของวิธีการปลูกกันบ้างครับ โดยการปลูกเมล่อนหรือแตงเทศสามารถปลูกได้ 2 แบบด้วยกัน คือ การหยอดเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยนิยม และอีกวิธีหนึ่งก็คือการเพาะกล้าแล้วย้ายมาปลูก โดยการเพาะกล้าในถาดเพาะ จะประหยัดเมล็ด โตเร็ว ต้นกล้ามีความแข็งแรง
ระบบการปลูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ วิธีแรกคือวิธีการปลูกให้เมล่อนเลื้อยตามผิวดิน เกษตรกรโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการปลูกแบบนี้ เพราะไม่ต้องลงทุนในการสร้างโรงเรือน แต่ผลเสียของการปลูกแบบนี้คือ ไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด ไม่หวาน สะสมโรคแมลงขายไม่ได้ราคา จึงไม่แนะนำให้ปลูกวิธีนี้ และการปลูกแบบขึ้นค้าง การปลูกแบบนี้เป็นที่นิยมโดยทั่วไป โดยปักค้างให้ห่างจากหลุมปลูกประมาณ 10 เซนติเมตรทำค้างแบบกระโจมสามเหลี่ยมแล้วผูกลำไม้ที่ทำค้าง อาจทำราวเพียงชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ ขึ้นราวห่างจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตรหรือชั้นที่สองให้สูงจากพื้นดิน 150-180 เซนติเมตรราวชั้นแรกทำเพื่อแขวนผล ส่วนราวชั้นที่สองทำเพื่อพยุงส่วนยอด เมื่อเถายาวประมาณ 40 เซนติเมตรจัดเถาให้เลื้อยขึ้นค้าง โดยใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆมัดตรงเถาพยุงไว้กับไม้ค้าง โดยเรียกวิธีการนี้ว่าการผูกยอดระยะปลูกระหว่างแปลงประมาณ 80 เซนติเมตร(ระยะห่างระหว่างแปลงยิ่งมากเท่าไร ยิ่งทำงานสะดวกมากขึ้น)

การให้น้ำ จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะแรก เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของลำต้น ตั้งแต่ปลูกจนอายุ 35-40 วัน หรือก่อนการออกดอก ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ อย่าปล่อยให้ดินแห้ง ให้ดินมีความชื้นแต่อย่าให้แฉะ เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินได้ง่าย การให้น้ำในระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการผสมเกสร ควรลดปริมาณน้ำลงเล็กน้อยแต่อย่าให้ดินแห้ง พยายามอย่าให้น้ำถูกดอกเพราะจะทำให้ละอองเกสรตายได้ ระยะที่สาม เป็นระยะหลังติดผลและมีการเจริญเติบโตเต็มที่ของผลควรให้น้ำเต็มที่เหมือนกับระยะแรก ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้ผลจะแกร็นแจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่วนระยะที่สี่ เป็นระยะที่มีการคุณภาพ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 15-20 วันก่อนเก็บเกี่ยว จะลดปริมาณการให้น้ำลงเรื่อยๆจนกระทั่งหยุดให้น้ำและปล่อยให้ดินแห้งก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน เพื่อให้ผลของเมล่อนมีรสชาติหวาน
การใส่ปุ๋ยทางดิน แบ่งใส่ 4 ระยะ คือ ระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กับปุ๋ยคอก 1 ตัน/พรวนให้เข้ากันบนแปลงปลูก ระยะที่สอง เมื่ออายุได้ 15-20 วัน หลังย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โรยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วให้น้ำตาม ระยะที่สาม เมื่อเมล่อนมีอายุได้ 40-45 วัน หลังทำการย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่โรยตามขอบแปลงแล้วให้น้ำตาม ระยะที่สี่ระยะสุดท้าย เมื่อเมล่อน อายุ 55-60 วัน หลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โรยในร่องระหว่างแปลงแล้วให้น้ำตาม
ส่วนการผูกยอดและการเด็ดยอด เมื่อเมล่อนทอดยอด ควรใช้เชือกฟางผูกหลวมๆบริเวณใต้ข้อปล้องที่ 2-3 จากยอดยึดกับค้างโดยผูกทุกๆ3 ปล้อง ปกตินั้นค้างจะมีความสูงประมาณ 150-180 เซนติเมตรควรเด็ดยอดทิ้งเมื่อเมล่อนมีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร

การตัดแขนงและการไว้ผล จะเริ่มไว้ผลตั้งแต่ข้อที่ 9-12 หรือสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตรโดยการเด็ดแขนงที่แตกจากข้อที่ 1-8 ออกให้หมด ผลที่ไว้นั้นให้เหลือใบไว้กับผล 2 ใบ และควรเก็บใบไว้เหนือผลขึ้นไป 12-15 ใบ เพื่อไว้เลี้ยงผล เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ก็เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล ส่วนผลที่เหลือเด็ดทิ้งทั้งหมด หลังจากที่เลือกผลที่ดีที่สุดแล้วใช้เชือกฟางทำเป็นบ่วงคล้อง ระวังอย่าให้เชือกฟางรัดที่บริเวณขั้วผล เพราะจะทำให้ผลของเมล่อน เจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อทำการคล้องผลเสร็จแล้วให้นำปลายเชือกอีกปลายหนึ่งไปผูกไว้กับค้าง

การเก็บเกี่ยว สำหรับเมล่อนจะมีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวประมาณ 70-80 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ และช่วงฤดูในการปลูก สำหรับเมล่อนที่ปลูกในช่วงฤดูร้อนผลจะสุกเร็วมากกว่าช่วงฤดูหนาว เมล่อนจะเริ่มติดผลเมื่อมีอายุ 35-40 วัน หลังจากวันที่เริ่มปลูก โดยระยะนี้ผลจะเริ่มมีขนาดเท่ากับไข่ได่เกษตรกรสามารถทำการห่อผลเมล่อนได้เลย หลังจากห่อผลเมล่อนไปอีกประมาณ 1 เดือนก็จะสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และนอกจากนี้ยังมีเทคนิคที่เกษตรสามารถนำไปสังเกตว่าเมล่อนที่ท่านปลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อใดดังนี้ครับ
1.สังเกตที่รอยแยกของขั้ว ให้สังเกตระหว่างขั้วกับผล ถ้าสังเกตว่ามีรอยร้าวสีน้ำตาลเกิดขึ้นก็แสดงว่าสมารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
2.สีของผลเมล่อน สีของผลนั้นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีครีมหรือสีเหลือง สีขาวขุ่นปนเหลืองหรือสีนวล ก็สามารถเก็บผลผลิตได้
3.รอยนูนของร้างแหบริเวณเปลือกของเมล่อน
4.บางพันธ์จะมีกลิ่นหอม สามารถเก็บเกี่ยวได้เลย
5.การนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งวิธีนี้คุณกิตติบอกว่าได้ผลดี ทำให้กำหนดและวางแผนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างแม่นยำและเป็นผลดีทางด้านการตลาด ซึ่งจริงๆแล้วเทคนิคการเก็บเกี่ยวผลผลิตดังกล่าวอาจจะไม่ตอบสนองต่อการเก็บเกี่ยวผลเมล่อนเสมอไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกด้วย
เคล็ดลับในการปลูกเมล่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตดีเป็นที่ต้องการของตลาด คุณกิตติมีเทคนิคดังนี้ครับ เมื่อเมล่อนมีอายุประมาณ 40 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 เพื่อให้ผลของเมล่อนนั้นมีรสชาติหวาน หลังจากที่เมล่อนติดผลแล้วให้เลือกผลที่ดีที่สุดไว้เพียงผลเดียวเท่านั้นครับ และการควบคุมน้ำก่อนการเก็บเกี่ยว ควรงดให้น้ำ 5-7 วันก่อนการเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลของเมล่อนมีรสชาติหวานน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาดครับ สำหรับผลผลิตที่ไร่เมล่อนแห่งนี้จะคัดแต่ผลของเมล่อนที่มีคุณภาพส่งไปขายยังตลาดที่สั่งซื้อผลผลิต เช่น ห้างเดอะมอลล์ จัสโก้ เป็นต้น จนลูกค้าเชื่อใจในคุณภาพของผลผลิตที่นี่ การันตีด้วย GAP ปลอดภัยต่อผู้บริโภคแน่นอนครับ แหม …พูดยังไม่ทันขาดคำก็มีลูกค้าเข้ามาซื้อถึงที่กันเลยที่เดียว ก่อนเดินทางกลับคุณกิตติ ได้นำลูกเมล่อนจำนวนหลายลูกนำมาใส่กล่องเพื่อเป็นของฝากสำหรับพวกเราทีมงานอีกด้วย

การปลูกแตงเทศหรือเมล่อน

การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ ( Melon )

ข้อมูลทั่วไป

เมล่อนเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล ( Family ) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตลูกผสมออกมาหลลายพันธุ์ที่เจริญได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกเป็นอย่างดี

เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้

· C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบทางขั้วถึงก้น เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
· C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นลายค่อนข้างถี่สม่ำเสมอ ผลมีลักษณะกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูปส่วน สีเนื้อมีตั้งแต่สีส้มถึงสีเขียว
· C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มี net
· C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon เป็นพวกแตงไทย
· C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก

เมล่อนสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง pH 6.5 – 7 หรือสภาพดินเป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศอบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่จะต้องการน้ำน้อยลง

เมล่อนเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และการเจริญเติบโตของเถาจะช้าลงในฤดูหนาว

การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
การเตรียมแปลงปลูก

เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง , ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่สองใช้ผาน 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1 ตัน/ ไร่ ปุ๋ยรองพื้นตรากระต่ายสูตร 15 –15 –15 อัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูกถ้าปลูกเลื้อยดินยกแปลงกว้างขนาด 3.5 – 4.0 เมตร ถ้าปลูกแบบขึ้นค้างยกแปลงกว้าง 1 เมตร ย่อยดินให้ละเอียดพอสมควรแต่งแปลงให้มีความกว้างบนแปลง 80 เซนติเมตร สูง 15 – 20 เซนติเมตร ปูฟางบนแปลงและร่องระหว่างแปลง หรืออาจใช้วัสดุอื่นคลุมแปลง ก่อนปลูกใช้ฟูราดานรองก้นหลุมกันแมลง

วิธีการปลูก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 แบบคือ

· หยอดเมล็ด ปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ โดยตรง หลุมละ 1-2 เมล็ด ก่อนปลูกควรคลุกสารเคมีป้องกันโรคทางเดิน
· เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก
ระบบการปลูก แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
· ปลูกแบบเลื้อยตามผิวดิน เกษตรกรทั่วไปมักปลูกแบบเลื้อยดิน แต่มีผลเสียคือไม่ได้คุณภาพตาม
ความต้องการ ไม่หวาน สะสมโรคแมลงขายไม่ได้ราคา เราจึงไม่แนะนำให้ปลูกลักษณะนี้
· ปลูกแบบขึ้นค้าง การปลูกแบบวิธีนี้เป็นที่นิยมโดยทั่วไป โดยปักไม้ค้างห่างจากหลุมปลุก
ประมาณ 10 เซนติเมตร ทำค้างแบบกระโจมสามเหลี่ยมแล้วผูกลำไม้ที่ทำค้าง อาจทำราวเพียงชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ขึ้นราวห่างจากพื้นดิน 80 – 100 เซนติเมตร และชั้นสองห่างจากพื้นดิน 150 – 180 เซนติเมตร ราวชั้นแรกทำเพื่อแขวนผล ส่วนราวชั้นที่สองทำเพื่อพยุงส่วนยอด เมื่อเถายาวประมาณ 40 เซนติเมตรจัดเถาให้เลื้อยขึ้นค้างโดยใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆมัดตรงเถาพยุงไว้กับไม้ค้าง เรียกวิธีการนี้ว่าการผูกยอดระยะปลูกระหว่างแปลงประมาณ 80 เซนติเมตร ( ระยะระหว่างแปลงยิ่งกว้างยิ่งทำงานสดวก )

การปฎิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ ปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
· ระยะแรก เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 35 – 40 วัน หรือก่อนการ
ออกดอกให้น้ำอย่างเพียงพออย่าให้ดินแห้งให้ดินมีความชื้นตลอดเวลาแต่อย่าให้แฉะเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินได้ง่าย
· ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการผสมเกสร ลดปริมาณน้ำลงเล็กน้อยแต่อย่าให้ดินแห้ง พยายามอย่า
ให้น้ำถูกดอกเพราะจะทำให้ละออองเกสรตายได้
· ระยะที่สาม เป็นระยะหลังติดผลและมีการเจริญเติบโตของผลให้น้ำอย่างเต็มที่เหมือนระยะแรก
ถ้าขาดน้ำช่วงนี้ผลจะแกร็นเจริญเติบโตไม่เต็มที่
· ระยะที่สี่ เป็นระยะที่มีการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 15 – 20 วันก่อนเก็บเกี่ยว จะลด
ปริมาณน้ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดให้น้ำและปล่อยให้ดินแห้งก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน เพื่อให้ผลมีรสหวานขึ้น

การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยทางดินแบ่งใส่ 4 ระยะคือ

· ระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก โดยใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ กับ
ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ พรวนให้เข้ากันบนแปลงปลูก
· ระยะที่สอง เมื่ออายุ 15 – 20 วันหลังย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัม/ไร่ โรยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร แล้วให้น้ำตาม
· ระยะที่สาม เมื่ออายุ 40 – 45 วัน หลังย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัม / ไร่ โรยตามขอบแปลงแล้วให้น้ำตาม
· ระยะที่สี่ เมื่ออายุ 55- 60 วันหลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ยสูตรตรากระต่าย 15-15-15 หรือ 8 – 24 –24 อัตรา
50 กิโลกรัม / ไร่ โรยในร่องระหว่างแปลงแล้วให้น้ำตาม
สำหรับปุ๋ยน้ำเร่งการเจริญเติบโต ใช้ในระยะที่มีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและกิ่งก้าน โดยหลังงอก 2-3 วันใช้มามีโกร สูตร 12 – 9 – 6 ผสมมาโมมิก ( ธาตุอาหารเสริม ) และอโทนิค โดยผสมกับยากันราราดต้นกล้าสูตรนี้สามารถใช้ทุก 3-5 วันจนกว่าจะมีใบจริง 6-7 ใบหรือผสมปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0 ) อัตรา 10 กรัม / น้ำ 10 ลิตร ทุก 7 วันเมื่อต้นกล้ามีใบจริงแล้ว ในช่วงก่อนออกดอกเปลี่ยนปุ๋ยมามีโกร เป็นสูตรตัวกลางและตัวท้ายสูง คือ ใช้สูตร 10 – 52 – 17 หรือ 6 –32 –35

การผูกยอดและการเด็ดยอด

เมื่อเมล่อนเริ่มทอดยอดควรใช้เชือกฟางผูกหลวมๆบริเวณใต้ข้อปล้องที่ 2-3 จากยอดยึดกับค้างโดยผูกทุกๆ 3 ปล้อง ปกติค้างจะมีความสูงประมาณ 150 – 180 เซนติเมตร ควรเด็ดยอดทิ้งเมื่อเมล่อนมีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร

การตัดแขนงและการไว้ผล

จะเริ่มไว้ผลตั้งแต่ข้อที่ 9 – 12 หรือสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร โดยเด็ดแขนงที่แตกจากข้อที่ 1-8 ออกให้หมด ผลที่ไว้นั้นให้เหลือใบไว้กับผล 2 ใบ และควรเก็บใบไว้เหนือผลขึ้นไป 12 – 15 ใบเพื่อไว้เลี้ยงผล เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ก็เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล ที่เหลือเด็ดทิ้งหมดตลอดจนแขนงที่ออกจากข้อทั้งเหนือและให้ผลเด็ดออกให้หมด
สำหรับการคล้องผลนั้นจะเลือกผลที่ดีที่สุดแล้วใช้เชือกฟางทำเป็นบ่วงคล้องพยายามอย่าให้เชือกฟาง รัดบริเวณขั้วผลเพราะจะทำให้ขั้วผลถูกรัดเมื่อมีน้ำหนักมากขึ้นและเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อคล้องผลแล้วผูกปลายเชือกอีกด้านหนึ่งเข้ากับค้าง จัดให้แขนงของผลเข้ากับพื้นดินผูกเชือกให้แน่น

การเก็บเกี่ยวหลังการปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ

เมล่อนมีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 80 วันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูปลูกเมล่อนพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวได้เร็วและเมล่อนที่ปลูกในฤดูร้อน ผลจะสุกเร็วกว่าในฤดูหนาว เมล่อนเริ่มติดผลเมื่อมีอายุได้ประมาณ 35 – 40 วันหลังย้ายปลูกเมื่อผลมีขนาดเท่าไข่ไก่จะเริ่มทำการห่อผล หลังจากห่อผลประมาณ 1 เดือนก็จะสามารถที่จะทำการเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตุระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวได้ดังต่อไปนี้ รอยแยกของขั้ว สังเกตระหว่างขั้วกับผล ถ้ามีรอยร้าวสีน้ำตาลเกิดขึ้นแสดงว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้สีของผล ผลจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีครีมหรือสีเหลือง สีส้ม สีขาวขุ่นปนเหลืองหรือสีนวลรอยนูนของร่างแห ( Net ) เมล่อนที่มีตาข่ายเมื่อสุกรอยนูนของตาข่ายจะคลุมผล แข็งนูนเห็นชัด

กลิ่น บางพันธุ์เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้
นับอายุ โดยนับจากช่วงผสมเกสรตามอายุของพันธุ์นั้นๆ
ใช้หลายวิธีประกอบกันในการตัดสินใจ เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชที่ค่อนข้างตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมง่าย ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีการแปรปรวนของสภาพแวดล้อม อยู่เสมอ
การตัดเมล่อน นอกจากตัดขั้วติดมาแล้วยังต้องตัดให้ติดส่วนของกิ่งแขนงย่อยออกมาด้วย โดยให้ติดเป็นรูปตัว T หลังจากเก็บเกี่ยวเมล่อนจะเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 15 –20 วัน แล้วแต่พันธุ์ ซึ่งการบ่มไว้จะทำให้รสชาติความหวานเพิ่มขึ้น ก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 5 วัน ควรงดการใช้น้ำเพื่อให้ผลเมล่อนมีความหวานมากขึ้น

โรคของเมล่อน

โรคราน้ำค้าง ( Downy mildew )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
อาการ : เกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็กแล้วค่อยขยายเป็นวงใหญ่ และเต็มใบในที่สุดเมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้ามือที่มีอากาศชื้นจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว เมื่ออาการรุนแรงใบจะอ่อนลงและแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด : ฉีดพ่นด้วยโนมิลดิว อัตรา 50 กิโลกรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุก 10 วัน ไม่ควรผสมกับสารเคมีอย่างอื่น ห้ามใช้เกิน 3 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาลเพาะปลูก การป้องกันก่อนการเกิดโรคคือตัดใบล่างออก 2-3 ใบให้ต้นโปร่งอากาศถ่ายเทสดวก

โรคเหี่ยว ( Wilt )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
อาการ : พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาตั้งแต่ส่วนยอดลงมา เถาจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายแบบเช่น ต้นแตกอาจจะแตกลึกถึงท่ออาหารเกิดการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่าและพบเชื้อราสีขาวติดอยุ่ตามรอยแยกแตกอาการสุดท้ายทำให้ต้นเหี่ยว และเน่าตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง
- ใช้ยากันราราดที่โคนต้น

โรคใบด่าง ( Mosaic )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Melon mosaic virus
อาการ : ใบยอดหรือใบบนๆมีอาการหงิกงอ ใบอ่อนจะไม่เติบโตติดต่อกันได้รวดเร็วโดยแมลงที่เป็นพาหะของโรคได้แก่พวกแมลงปากดูด
การป้องกันกำจัด
ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ทิ้งให้หมด

โรคเน่าคอดิน ( Damping off )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. Phytophthora sp.
อาการ : เกิดกับเมล่อนในระยะต้นกล้าหรือย้ายปลูกใหม่ เกิดจากดินมีความชื้นสูง หรือเนื่องจากให้น้ำมากเกินไปหรือแปลงปลูกระบายน้ำไม่ดี อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือ ที่โคนต้นกล้าจะมีรอยคล้ายรอยช้ำและเกิดการเน่าบริเวณคอดิน
การป้องกันกำจัด
ก่อนปลูกควรมีการคลุกสารเคมีกับเมล็ด หลังจากหยอดเมล็ดแล้วราดสารเคมีป้องกันโรคโคนเน่า
ถอนต้นที่แสดงอาการทิ้ง

อาการผลแตก

สาเหตุ : เกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไปขณะผลใกล้สุก
อาการ : ผลแตก
การป้องกันกำจัด : ควรมีการให้น้ำแต่น้อยในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว

เพลี้ยไฟ ( Thrips, Haplothrips Floricola )

จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ใต้ใบอ่อน และดอก ทำให้ยอดไหม้และยอดหงิกชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด : ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้วฉีดสารเคมี ชอสแมค 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงวันทอง ( Fruit fly, dacus spp. )

จะพบระบาดทั้งปีโดยจะเจาะผลแตงแล้ววางไข่ ตัวหนอนวันทองจะทำลายในผล ทำให้ผลเมล่อนเน่าเละและร่วงในที่สุด

แมลงศัตรูของเมล่อน

การป้องกันกำจัด

- ห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
- ฉีดสารเคมีกลุ่ม Carbaryl เช่น คาร์โบน็อค

เต่าแตง ( Cucurbit leaf beetles , Autacophora spp. )

จะกัดกินใบและยอดอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตช้าและแคระได้ แมลงพวกนี้ยังเป็นพาหะของโรคที่เกิดจากไวรัสได้อีกด้วย

พันธุ์ที่แนะนำส่งเสริมมี 5 พันธุ์

1. ปรินเซส ต้นแข็งแรงทนทานโรคดี เนื้อหอมมีกลิ่นหอม ผลมีตาขายสวยงาม สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าพันธุ์ทั่วไป
2. ซันเน็ท 858 เนื้อทรายสีส้มเข้มสวยงาม รสชาติดี มีร่างแหสวยงาม โตเร็ว เก็บเกี่ยวผลไว ปลูกง่าย
3. คลับ 708 ต้นแข็งแรง ผลมีตาข่ายสวยงาม เนื้อหนานุ่ม มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวผลได้เร็ว
4. นีออน 022 ผลและเนื้อสีขาวสวยงาม เนื้อหนา รสหวานนุ่ม
5. มอร์นิ่งซัน 875 ผลกลมสูง เนื้อสีเขียวหยก แน่นกรอบ รสหวาน ต้นแข็งแรงปลูกง่าย

เคล็ดลับการปลูก

เมื่อเมล่อนอายุประมาณ 40 วันใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 เพื่อให้เมล่อนมีรสชาดหวาน
หลังจากติดผลแล้วเลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล เพื่อจะให้ได้ผลที่สวย

การคุ้มค่าของการลงทุน

เมล่อนจะมีผลแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากัน เฉลี่ยแล้วผลผลิตที่ได้ประมาณ 4,800 กิโลกรัมต่อไร่
เมล่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท * 4,800 กิโลกรัม = 144,000 บาท
ต้นทุนการผลิต / ไร่ = 24,000 บาท
ผลกำไรที่ได้ = 144,000 – 24,000 = 120,000 บาท
วิธีการปลูกเมล่อน แตงเทศ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า เมลอน หรือ แคนตาลูป เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อนุ่ม หวานฉ่ำและมีกลิ่นหอม
สีของเนื้อผลยังมีหลากหลาย ทั้งขาว ครีม เหลือง เขียว ส้มและแสด จึงชวนให้รับประทานมายิ่งขึ้น จัดเป็นทั้งผลไม้และผัก ขึ้นกับลักษณะของการนำไปใช้บริโภค ซึ่งมีทั้งใช้บริโภคสดในรูปผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนประกอบในสลัดผัก
นอกจากนี้ยังใช้ประกอบของหวานและเครื่องดื่มหลายชนิด อาทิเช่น ฟรุ๊ตสลัด ไอศกรีม น้ำแข้งใส และน้ำผลไม้ปั่น เป็นต้น แตงเทศ จึงมีราคาดีที่สุดในบรรดาพืชวงศ์แตงเดียวกัน
การขายแตงเทศนิยมขายกันตามน้ำหนักของผล ซึ่งมีตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 20 บาท ไปจนถึง กิโลกรัมละ 80 -100 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของแตงเทศซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นบางพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 65 วัน หลังหยอดเมล็ดเท่านั้น จึงจัดเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างดีในเวลาอันรวดเร็ว ข้อเสียของแตงเทศคือมักอ่อนแอ ไม่ค่อยทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด หรือมีฝนตกชุกเกินไป การปลูกแตงเทศให้ได้ผลดี ประการแรก จึงควรเลือกชนิดและพันธุ์ของแตงเทศที่มีอยู่มากมายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่และฤดูกาลที่จะปลูก ชนิดและพันธุ์ แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ในแถบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. ซึ่งมีอยู่หลายวาไรตี้ (variety) หรือ ชนิด (group) แต่ที่ปลูกที่เป็นพืชเพื่อการบริโภคมีอยู่ 3 วาไรตี้ ได้แก่

1. วาไรตี้ แคนตาลูปเพนซิส (Cantaloupensis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. cantaloupensis มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ร็อคเมลลอน (Rock melon) เพราะผลมีผิวแข้ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห

2. วาไรตี้ เรติคูลาตัส (Reticulatus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. Melo L. var. reticulatus มีชื่อเรียกทั่วไปว่า เน็ดท์เมลอน (netted melon) มัสค์เมลอน (muskmelon) หรือ เปอร์เซียนเมลอน (persian melon) เป็นชนิดที่ผิวนอกของผลลักษณะขรุขละเป็นร่างแหคลุมทั้งผล และผลมีกลิ่นหอม เนื้อผลเป็นสีเขียว หรือสีส้ม

3. วาไรตี้ อินอะดอรอส (Inodorous) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. inodorous ผิวของผลเรียบ และมักไม่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์แตงเทศโดยการผสมภายในกลุ่มและการผสมข้ามระหว่างกลุ่มจนได้พันธุ์แตงเทศที่มีลักษณะผสมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ และเป็นพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) มากมาย

สำหรับพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทยโดยการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศและวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปแอฟริกา จึงไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัด แต่ชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ร้อนจัด อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงอยู่ที่ 25- 30 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน ดังนั้นฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงเทศในประเทศไทยจึงเป็นปลายฤดูฝนหรือฤดูฝนหนาว ในเขตที่อากาศไม่หนาวจัด เช่นภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉลียงเหนือที่อากาศไม่หนาวจัดจนเกินไป

หากแตงเทศกระทบกับอากาศหนาวเย็นจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า การออกดอกติดผลจะล่าช้า และถ้าอากาศยิ่งหนาวจัด ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ต้นแตงเทศจะหยุดการเจริญเติบโต ในทำนองกลับกันต้นแตงเทศก็ไม่ชอบอากาศที่ร้อนจัดเกินไป ถ้าอุณหภูมิเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส แตงเทศมักจะสร้างแต่ดอกตัวผู้ ไม่มีดอกตัวเมีย หรือถ้ามีดอกตัวเมียแต่จะร่วงง่ายไม่ติดผล ปัญหาจากสภาพแวดล้อมของอากาศที่สำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศอีกประการหนึ่งคือฝน

ถ้าแตงเทศถูกน้ำฝนบ่อย มักจะเกิดโรคราน้ำค้างระบาดตามมา เนื่องจากแตงเทศเป็นพืชที่มีใบกว้างใหญ่และมีขน เมื่อสัมผัสกับน้ำฝนจะเกิดหยดน้ำค้างบนใบอยู่เสมอ ไม่แห้งง่าย จึงเป็นสภาพที่อำนวยให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อราน้ำค้างบนใบได้ร่วมกับสภาพอากาศที่เย็นและชื้นหลังฝนตก โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน เป็นโรคสำคัญที่ทำความเสียหายมากสำหรับพืชในวงศ์แตง โดยเฉพาะกับแตงเทศจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก

ดังนั้นในการปลูกแตงเทศในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมนั้น จะต้องมีการดูแลรักษา ให้น้ำ ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จึงจะได้ผลดี ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงเทศ ควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกแตงเทศในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัด ที่มีการระบายที่ไม่ดี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเน่าในระบบรากได้ง่าย และยังเป็นที่สะสมของโรคทางดิน ติดต่อไปยังฤดูต่อไป รวมทั้งยากต่อการลดความชื้นในดินก่อนเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการปลูกแตงเทศในดินชนิดนี้ควรยกแปลงให้สูง 30 - 40 ซม. มีร่องน้ำกว้างเพื่อการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในฤดูติดกัน ค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH) ของดินควรอยู่ที่ 6.0 - 6.5 ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้แสดงว่าดินมีสภาพเป็นกรด ต้องทำการปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง ของดินให้สูงขึ้นด้วยปูนขาว มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าของระบบรากในดิน

ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่แนะนำให้ปลูกแตงเทศซ้ำในพื้นที่เดิมในฤดูติดกัน ควรปลูกพืชในวงศ์อื่นคั่น 1 - 2 ฤดู ก่อนที่จะกลับมาปลูกในที่เดิมอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคทางดินที่อาจสะสมอยู่จากการปลูกในฤดูที่ผ่านมา การเพาะย้ายกล้า ปกติการปลูกพืชในวงศ์แตงมีเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ จึงสะดวกที่จะหยอดเมล็ดลงในหลุมในแปลงปลูกได้โดยตรง จำนวนหลุมละ 2 - 4 เมล็ด แล้วจึงถอนแยกให้เหลือต้นที่แข้งแรงเพียง 1 ต้นเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้วิธีการดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมแล้วเพราะเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองเมล็ด ที่ปัจจุบันเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นการเพาะเมล็ดในกะบะเพาะหรือถุงเพาะเมล็ดก่อนแล้วจึงย้ายปลูกจึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ มักมีความงอก ความบริสุทธิ์สูง และปลอดจากเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด สามารถนำมาเพาะได้ทันที แต่ในกรณีที่ไม่แน่ใจในเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดและต้องการกระตุ้นให้เมล็ดงอกได้ดีและเร้วขึ้น

ให้แช่เมล็ดในน้ำหรือน้ำอุ่น สูงพอท่วมหลังเมล็ด ประมาณ 6 ซม. หุ้มด้วยผ้าเปียกน้ำหมาดต่ออีก 1 คืน สังเกตว่าเมล็ดมีรากขาวเริ่มออกมาแล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อในวัสดุเพาะ แล้วจึงรดด้วยสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราเจือจาง ในการเพาะกล้าแตงเมศ เริ่มจาก
การเตรียมวัสดุเพาะกล้า ปัจจุบันวัสดุเพาะกล้าที่ให้ผลดีที่สุดได้แก่ พีทมอส ซึ่งเป็นวัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่าวัสดุเพาะกล้าภายในประเทศทั่วไป มีลักษณะเบา อุ้มน้ำ ได้ดี แต่มีช่องว่างให้มีอากาศที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังงอก ในพีทมอสนี้ยังมีธาตุอาหารในรูปของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายตัวแล้วให้กับต้นกล้าได้ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง นอกจากนี้พีทมอสยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากสำหรับการเพาะกล้าอีกประการหนึ่งคือ ปลอดจากเชื้อโรคทางดินต่างๆ จึงเป็นวัสดุปลูกที่ให้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถ้าต้องการประหยัด อาจใช้วัสดุปลูกภายในประเทศที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับพีทมอส เช่น ขุยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกไปแล้ว ผสมกับปุ๋ยคอกและทรายหยาบที่ร่อนเอาเม็ดกรวดออกไปแล้ว ในอัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร หรือในสถานที่ที่หาดินร่วนได้ง่าย อาจเพิ่มดินร่วนที่ผ่านการตากแดดฆ่าเชื้อและนำมาย่อยจนละเอียดดีแล้วอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นกล้าอีกทางหนึ่งอ เมื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกที่ต้องการใช้ให้เข้ากันดีแล้ว ทำการกรอกวัสดุปลูกลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงพลาสติกเพาะกล้า ทำการหยอดเมล็ดลงในกระบะหรือถุงเพาะหลุมละ 1 ต้น ให้ลึกประมาณ 2 ซม. กลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะชนิดเดียวกัน รดน้ำให้ชุ่ม ก่อนนำไปวางไว้ในที่ร่ม รำไร ไม่ให้โดนแสงแดดจัดโดยตรง ในระหว่างการอนุบาลต้นกล้าแตงเทศ จะต้องรักษาความชื้นในวัสดุปลูกให้สม่ำเสมอ คงที่ ถ้าวางไว้นอกโรงเรือน ในที่กลางแจ้งควรใช้ฟางข้าวคลุมเหนือผิววัสดุปลูกเพื่อช่วยเก็บความชื้น ไม่ให้ระเหยออกไปจากวัสดุปลูกอย่างรวดเร็วจนทำให้วัสดุปลูกนั้นแห้งเร็วเกินไป รอจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกและมีใบจริงสีเขียวจึงค่อยๆ ทะยอยเปิดฟางข้าวออกให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อย ตามอายุการเจริญเติบโต มิฉะนั้นต้นกล้าจะมีปล้องที่ยึดยาวหาแสงทำให้ลำต้นผอมบาง ไม่แข้งแรง และอย่าลืมว่าควรเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้แตฃก่ต้นกล้าให้มากขึ้นเมื่อต้นกล้าโตขึ้นตามลำดับ ขนาดของกระบะเพาะกล้าในปัจจุบันมีหลายขนาด สามารถเพาะกล้าให้เมล็ดงอกได้ดีพอกัน แต่การเลืกกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่าจะได้เปรียบตรงที่มีปริมาณวัสดเพาะต่อต้นกล้าและได้ระยะห่างระหว่างต้นกล้าด้วยกันมากกว่าของกระบะที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ได้ต้นกล้าภายหลังการงอกที่ได้จากกระบะเพาะที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดของต้นกล้าที่แข้งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ คือที่ใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ

การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า แตงเทศเป็นพืชที่มีราคาแพง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคุ้มค่ากับการปลูกทั้งในแปลงเปิดที่ลงทุนต่ำและในโรงเรือนที่ลงทุนสูง

การปลูกภายนอกโรงเรือน ก่อนอื่นควรมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่จะปลูกไปตรวจเพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (โครงสร้างดิน ความเป็นกรด - ด่าง ความเค็ม และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน) การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้นด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 ซม. ซึ่งเป็นความลึกที่อย่างน้อยต้องมีให้รากแตงชอนไซหาอาหารได้สะดวก จากนั้นจึงทำการไถแป เพื่อย่อยดินให้ละเอียด แต่ถ้าในกรณีที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัดไม่ควรย่อยดินให้ละเอียดมากเกินไปแล้ว จึงใส่ปูนขาวตามคำแนะนำของผลการวิเคราะห์ดิน(ถ้ามี) ต่อมาให้ทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500 - 2,000 กก.ต่อไร่ ทำการพรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่ว ยกแปลงสูง 30 ซม. หรือ 40 ซม. สำหรับฤดูฝน กว้างประมาณ 1 - 1.20 ม. มีความยาวตราความยาวของพื้นที่สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ เว้นร่องน้ำกว้าง 0.80 ม. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 15 - 15 - 15 จำนวน 50 กก./ไร่ โดยโรยเฉพาะบนแปลง และพรวนดินเพื่อพลิกปุ๋ยลงสู่ดินล่าง หากต้องการป้องกันวัชพืช ควรคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็ฯ 2 แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. และระหว่างหลุมในแถวห่างกัน 0.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น สำหรับในพื้นที่ที่หาฟางข้าวได้ง่ายอาจใช้ฟางข้าวคลุมแปลงแทนการใช้พลาสติกเพื่อการประหยัด ยกเว้นในฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟางคลุมดิน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าที่โคนต้นและระบบรากจากเชื้อราที่ติดมากับฟาง

การปลูกในโรงเรือน ในการปลูกแตงเทศในโรงเรือนช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศได้ในฤดูฝนโดยที่ไม่ต้องกลัวการระบาดของโรคทางใบ แต่ก็ต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่า จึงควรใช้เป็นวิธีการปลูกแตงเทศพันธุ์ที่มีราคาแพง เพื่อผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน วิธีการปลูกในโรงเรือนนั้นสามารถปลูกลงในดินหรือปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ในภาชนะหรือกระถาง แต่การปลูกลงในกระถางจะมีข้อดีกว่าตรงที่ สามารถใช้ระยะปลูกที่ชิดกว่าการปลูกลงดินและเป็นวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศต่อเนื่องในฤดูติดกัน เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการระบาดของโรคทางดินเนื่องจากปลูกในกระถางที่ใช้วัสดุปลูกที่มีความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ปลอดภัยมาแล้ว ในกรณีที่ปลูกมนกระถางขนาด 12 นิ้ว ให้วางกระถางแบบแถวคู่ ภายในแถวคู่ที่ระยะห่างระหว่างกระถางในแถว 50 ซม. ระยะห่างภายในแถวคู่ 80 ซม. และระยะระหว่างแถวคู่เท่ากับ 1.5 ม. ในโรงเรือนที่มีพื้นที่ 360 ตร.ม. จะปลูกได้ 1,000 ต้น วัสดุปลูกที่ใช้สามารถใช้ได้หลายชนิด ถ้าใช้วัสดุจากต่างประเทศ ได้แก่ พีทมอส หรือ ภูมิส สามารถใช้วัสดุ ชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หรือ ถ้าใช้วัสดุภายในประเทศ เช่น ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ ทราย ให้นำผสมกันเสียก่อน ในอัตราเช่น ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : ทราย : ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ไม่ควรใช้ขุยมะพร้าว แกลบดิบ ทราย หรือถ่านแกลบ เพียงอย่างใด อย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เพราะวัสดุภายในประเทศเหล่านี้โดยตัวเองเพียงอย่างเดียว ยังไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช เมื่อเตรียมแปลงและหลุมปลูก หรือ กระถางบรรจุวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการย้ายต้นกล้าแตงเทศที่เตรียมไว้ลงปลูก หลังปลูก รดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ความชื้นแก่ต้นกล้าและให้ดินกระชับรากต้นกล้า

ในกรณีของการปลูกในโรงเรือนต้องวางระบบน้ำหยดและติดตั้งหัวน้ำหยดที่แต่ละกระถางปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา แตงเทศเป็นพืชที่ต้องการการปฏิบัติเป็นพิเศษแตกต่างจากพืชอื่นๆ ในหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การให้น้ำและใส่ปุ๋ย การขึ้นค้าง การตัดแต่งกิ่ง

การผสมเกสรและการไว้ผล และการดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตที่ดี ในต้นแตงเทศหนึ่งต้นจะปล่อยให้ติดลูกเพียงหนึ่งผลเพื่อต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผล ดังนั้น หากมีการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นแตงเทศนั้นเลย ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

การขึ้นค้าง แตงเทศเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ในการใช้ระยะปลูกชิดแบบปัจจุบันจึงต้องบังคับให้เถาแตงเลื้อยขึ้นด้านบนโดยการจัดค้างให้เถาแตงได้เกาะโดยหลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ต้องมีการปักค้างให้กับต้นแตงเทศ ไม้ค้างควรมีความสูงจากผิวดินหลังการปักลงดินแล้วไม่น้อยกว่า 1.80 ซม. ในกรณีปลูก 2 แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข้งแรงให้มากขึ้นก็ได้ และระหว่างไม้ค้างที่ปักในแนวตั้งให้ยึดด้วยไม้ค้างตามแนวนอนทั้งบนและล่างอีกตลอดความยาวของแปลง ไม้ค้างที่ใช้อาจเป็นไม้ไผ่รวก ไม้กระถิน หรือ อื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก ต้นแตงเทศทุกต้นต้องมีที่ยึดเกาะให้ลำต้นเลื้อย หากไม่สามารถลงทุนซี้อไม้ค้างให้กับต้นแตงทุกต้นได้ สามารถลดต้นทุนโดยการปักไม้ค้าง้ป็นช่วงห่างกัน 2 - 2.5 ม. และหาเชือกไนลอนหรือเชือกอื่นที่มีความแข้งแรงพอที่จะรับน้ำหนักต้นแตงเทศได้ผูกโยงที่บริเวณปลายของไม้ค้างแต่ละอันให้ตึงและบนเส้นเชือกตำแหน่งที่ตรงกับต้นแตงเทศให้ผูกเชือกห้อยลงมายาวจรดดิน ในการเริ่มต้นให้ต้นแตงเกาะกับหลักหรือเชือกจะต้องช่วยบังคับโดยการผูกต้นแตงกับหลักหรือเชือก ทุกๆ ข้อเว้นข้อ ก่อนในระยะแรก ถ้าเป็นเชือกให้เวียนเชือกรอบต้นแตงด้วย เพื่อเชือกสัมผัสและรับน้ำหนักและพยุงต้นแตงเทศไว้ได้ การเลี้ยงลำต้นและกิ่งแขนง หลังจากปลูกแตงเทศได้ระยะหนึ่ง ต้นแตงเทศจะเริ่มมีการแตกกิ่งแขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่าข้อที่ 8 และสูงกว่าข้อที่ 12 ออกเสียโดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่าง ข้อที่ 8 - 12 ไว้ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป


ทำการแต่งกิ่งแขนงโดยตัดปลายยอดทิ้งให้เหลือใบเพียง 2 ใบ เท่านั้น คือใบที่ใกล้กับข้อแรกที่จะเกิดดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ และใบที่ข้อถัดขึ้นไป ปล่อยให้มีดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เกิดขึ้นเพียงแขนงละ 1 ดอก เท่านั้น และเมื่อต้นแตงเทศเจริญเติบโตจนถึง 25 ข้อ ให้ตัดปลายยอดของต้นออกเสีย เพื่อหยุดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น นอกจากนี้ให้เด็ดใบล่างสุดออกอีก 3 - 5 ใบ ที่ไม่ค่อยได้รับแสงแดดออกไ เพื่อทำให้ต้นโปร่งเพิ่มการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้เกิดการสะสมของความชื้นที่ชักนำให้เกิดโรคราต่างๆ

การผสมเกสรและการไว้ผล แตงเทศเป็นพืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่กันคนละดอกแต่เกิด อยู่บนต้นเดียวกัน หรือบางพันธุ์มีดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันก็มี โดยดอกเพศผู้จะเกิดก่อนและเกิดเป็นช่อที่มุมระหว่างก้านใบกับลำต้น หรือ ลำต้นกับกิ่งแขนง ส่วนเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศจะเกิดทีหลังและเกิดเป็นดอกเดี่ยว ที่ข้อแรกหรือข้อที่สองของกิ่งแขนง โดยปกติแตงเทศเป็นพืชผสมข้าม จำเป็นที่ต้องที่การผสมเกสรจากภายนอกโดยแมลงหรือมนุษย์จึงจะติดเป็นผลได้ ดังนั้นในการปลูกแตงเทศจึงจำเป็นต้องมีการช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ การผสมเกสรต้องกระทำเมื่อดอกบาน ในตอนเช้า ตั้งแต่เวลา 06.00 - 10.00 น. ในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่ขึ้นสูง หลังจากนั้นดอกตัวเมียจะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป วิธีการผสมเกสรทำโดย นำเด็ดดอกตัวผู้ที่บานในวันนั้นจากต้นใดก็ได้ นำมาปลิดกลีบดอกออกให้หมดเหลือแต่ละอองเกสรตัวผู้ที่สังเกตเห็นว่ามีละอองเกสรตัวผู้เกาะติดอยู่เต็มไปหมด แล้วนำมาคว่ำและเตาะลงที่ยอดของดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ ที่บานในวันนั้นให้ทั่วโดยรอบดอก ทะยอยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศที่เกิดอยู่บนกิ่งแขนงที่เกิดบนข้อที่ 8 - 12 ซึ่งจะบานไม่พร้อมกันจึงต้องใช้เวลาหลายวัน จึงจะผสมครบทั้ง 5 ดอก เมื่อเริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ จึงทำการเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่เหลือให้ปลิดทิ้ง หลังติดผล 2 สัปดาห์ให้เริ่มใช้เชือกผูกที่ขั้วผลโยงไว้กับค้างเพื่อช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อไปจากนั้นให้รีบห่อผลด้วยกระดาษหนัวสือพิมพ์ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง การให้น้ำ ต้นแตงเทศเป็นพืชที่มีใบใหญ่คายน้ำมากจึงต้องการน้ำมากในแต่ละวัน นับจากหลังจากย้ายปลูกแล้ว ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งแตงเทศเริ่มออกดอกและติดผลจะเป็นช่วงที่แตงเทศมีปริมาณความต้องการน้ำสูงที่สุด การให้น้ำแก่แตงเทศจึงต้องเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเพิ่มมากขึ้นทุกสัปดาห์ จนถึงระยะออกดอกและติดผลจึงให้น้ำในปริมาณที่คงที่ได้ ปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่ต้นแตงเทศนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าปลูกแตงเทศในช่วงที่อากาศร้อนจัด ในฤดูร้อนจัดและอากาศแห้งแล้ง ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศในช่วงเริ่มต้นหลังย้ายกล้าอาจอยู่ในช่วง 0.5 - 1 ลิตร/ต้น/วัน และในช่วงที่กำลังออกดอกและติดผลอาจสูงถึงวันละ 2 - 3 ลิตร/ต้น/วัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำของแตงเทศสามารถเปลี่ยนแปลงไปใบฤดูกาลเดียวกัน ยังแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สำหรับวิธีการให้น้ำแก่แตงเทศ สามารถทำได้หลายวิธี เช่นการปล่อยน้ำเข้าข้างร่องปลูกและปล่อยให้น้ำซึมเข้าสู่แปลงจากด้านข้าง ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่สิ้นเปลืองน้ำและแรงงาน

ปัจจุบันนิยมใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นแตงที่ในบริเวณรากของต้นแตงแต่ละต้นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า และยังสามารถผสมปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดลงไปในระบบน้ำหยดได้ด้วย แต่ต้องใช้การลงทุนสูงในครั้งแรกแต่สามารถเก็บไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกต่อๆไป การให้ปุ๋ย . การใส่ปุ๋ยให้แก่แตงเทศที่ถูกวิธีและประหยัดนั้น ก่อนการให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศควรมีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียก่อนว่ามีอินทรีย์วัตถุ ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโปแตสเซียม ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในปริมาณเท่าใดก่อน จึงค่อยกำหนดปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้แก่ดินที่ปลูกนั้นอีกครั้ง เนื่องจากความอุมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน คำแนะนำในการให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศต่อไปนี้ จึงเป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับแปลงปลูกพืชที่ไม่มีผลการตรวจวิเคราะห์ดิน

การให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ในระหว่างการเตรียมดินก่อนปลูก ได้มีการใส่ปุ๋ยรองพื้นให้แก่ต้นแตงเทศครั้งหนึ่งแล้ว แต่หลังการย้ายปลูกต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอีกเป็นระยะๆ ในช่วงก่อนออกดอก ช่วงกำลังออกดอกและติดผลอ่อน และช่วงก่อนผลแก่ ดังนี้ หลังย้ายปลูก 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15 - 15 - 15 ที่โคนต้นแตงเทศในปริมาณ 15 กรัม/ต้น หรือ 50 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 25 วัน และ 50 วัน หลังย้ายปลูก โรยปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 50 กก./ไร่ และเมื่ออายุ 65 วัน หลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ย 0 - 0 - 60 อัตรา 25 กก./ไร่ หว่านลงที่ร่องระหว่างแปลงปลูก ก่อนการให้น้ำผ่านทางร่องแปลง

การให้ปุ๋ยเคมีทางน้ำ หากมีการใช้ระบบน้ำหยดกับการปลูกแตงเทศแล้ว ควรที่จะใช้วิธีการให้ปุ๋ยทางน้ำแก่ต้นแตงเทศ เพราะเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยดีที่สุด ทำได้โดยการติดตั้งปั๊มปุ๋ยเข้าที่ส่วนต้นทางของระบบน้ำหยดก่อนเข้าสู่แปลงปลูก และผสมปุ๋ยลงในถังผสมขนาดใหญ่ 80 -200 ลิตร เป็นต้น เมื่อจุ่มสายดูดจากปั๊มปุ๋ยลงในถังผสมปุ๋ยและปล่อยให้ปั๊มทำงานเพื่อดูดปุ๋ยเข้มข้นขึ้นไปผสมกับน้ำที่กำลังผ่านเข้าไปในแปลงปลูกสู่ต้นพืช กลายเป็นน้ำปุ๋ยเจือจางหยดให้กับต้นแตงเทศแต่ละต้น ในความเข้มข้นดังนี้ ธาตุไนโตรเจน (N) 150 - 200 มก./ลิตร ธาตุฟอสฟอรัส (P) 30 - 50 มก./ลิตร และธาตุโปแตสเซียม (K) 150 - 200 มก./ลิตร ในช่วงหลังของการพัฒนาของผล ควรเพิ่มความเข้มข้นธาตุอาหารโปแตสเซียมให้มากขึ้นอีกเล็กน้อยและลดความเข้มข้นของไนโตรเจนที่ให้ไปพร้อมกับน้ำลง เพื่อเพิ่มความหวานให้แก่แตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว

ปัจจุบันปุ๋ยน้ำสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปผงที่ละลายน้ำได้มีการนำมาจำหน่ายแล้ว มีมากมายหลายสูตรแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นก่อนการออกดอกติดผล ควรใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20 - 20 - 20 , 21 - 11 - 21 , 10 - 10 - 20 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น แต่ภายหลังเมื่อเริ่มออกดอกติดผลแล้ว ควรเปลี่ยนมาใช้สูตรปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูงขึ้น เช่น 14 - 7 - 28 , 12 - 5 - 40 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น ความเข้มข้นในถังปุ๋ยที่จะทำการผสมเพื่อดูดไปผสมกับน้ำแล้วได้ความเข้มข้น สุดท้ายเท่ากับที่ต้องการให้กับต้นแตงเทศนั้น จะขึ้นกับอัตราการดูดปุ๋ยของปั๊มปุ๋ย และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลงปลูกซึ่งจะแตกต่างกันไป ตามชนิดและขนาดของปั๊มปุ๋ยที่ใช้ และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลง คำนวณจากจำนวนหัวน้ำหยดและอัตราการหยดต่อหัว

ในการนี้บริษัทผู้ขายปุ๋ยสามารถให้คำแนะนำในการผสมได้

การเพิ่มความหวานในผลก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ให้ค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำแก่ต้นแตงเทศลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ลดน้ำลงจนกระทั่งต้นแตงปรากฎเกิดอาการเหี่ยวในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลแตงเทศและลดปัญหาการแตกของผลแตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว แตงเทศที่จัดว่ามีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่าความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ ขึ้นไป หรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแตงสุกแก่ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก คือ ในพันธุ์ที่ผิวมีร่างแหจะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสีและอ่อนนุ่นลง และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอมเกิดขึ้น เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว ในการเก็บเกี่ยวผลแตงเทศเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยว ในระยะที่พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลแตงที่อ่อนเกินไป รสชาติยังไม่หวานและมีน้ำหนักน้อย หากเก็บเกี่ยวล่าช้าไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาและการจำหน่าย อายุเก็บเกี่ยวของแตงเทศที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์เบา ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 60 - 65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30 - 35 วัน หลังดอกบาน , พันธุ์ปานกลางมีอายุเก็บเกี่ยว 70 - 75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40 - 45 วัน หลังดอกบาน พันธุ์หนักที่มีอายุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80 - 85 วันหลังเพาะเมล็ดหรือ 50 - 55 วัน หลังดอกบาน

นอกจากการนับจำนวนวันแล้ว การเก็บเกี่ยวแตงเทศยังสามารถดูจากลักษณะภายนอกได้ด้วย แตงเทศที่เริ่มสุกแก่เก็บเกี่ยวได้จะเริ่มมีกลิ่นหอมในพันธุ์ที่มีกลิ่มหอมและมีรอยแยกที่ขั้วผลเกิดขึ้นแสดงว่าผลแตงกำลังจะหลุดร่วงจากต้นโดยทั่วไปมักจะเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดรอยแยกประมาณ 50 % หรือครึ่งหนึ่งของรอบขั้วผล ซึ่งเป็นระยะที่ผิวของผลแตงยังไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป สามารถเก็บรักษาหรือขนส่งไปจำหน่ายในตลาดได้โดยไม่กระทบกระเทือน และอยู่ตลาดได้อีกระยะหนึ่ง

การเก็บรักษา แตงเทศเป็นผลไม้สามารถเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลพัฒนาเต็มที่แต่ยังไม่ถึงระยะสุกงอมและนำมาบ่นให้สุกก่อนการบริโภคได้เช่นเดียวกับมะม่วง กล้วยและมะละกอ ดังนั้นถ้าหากเก็บเกี่ยวแตงเทศที่แก่แล้วนำมาวางเก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 27 - 30 องศาเซลเซียส) ผลแตงเทศจะเกิดการสุกงอม เนื้อผลอ่อนและเน่าเสียในที่สุด ในเวลาอันสั้น หากต้องการเก็บรักษาแตงเทศให้คงสภาพเดิมไว้ให้นานที่สุด

เพื่อรอการจำหน่ายหรือขนส่งไปจำหน่ายในสถานที่ห่างไกล ควรจะต้องเก็บแตงเทศในสภาพที่มีอากาศเย็น ประมาณ 2 - 5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 95 % จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศออกไปได้นานถึง 15 วัน ในระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายหากสวมผลแตงเทศไว้ในถุงตาข่ายโฟมจะช่วยป้องกันการกระแทกระหว่างกัน กันให้เกิดรอยซ้ำได้
โรคและแมลง
โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิด หนึ่งซึ่งระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณที่ตรงกับแผล เมื่ออาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ ในขณะที่กำลังออกดอกติดผล เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค

การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมรการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา จำพวกมาเน็บ หรือ ไซเน็บ เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้าหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้วควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม เช่น ริโดมิล สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้ว ควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการเชื้อโรคแพร่กระจายออกไปมากยิ่งขึ้น

โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่อยู่ในดิน ทำให้ต้นแตงเทศเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอย่ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง ของดินให้มีค่าสูงขึ้น จะช่วยชลออาการของโรคนี้ได้ ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกใด

ควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน

โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส ต้นแตงเกิดอาการใบด่างเหลือง หยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งขึ้น ทำให้แตงชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกและติดผล ถ้าพบว่าเริ่มมีต้นแตงเทศเป็นโรคนี้ ควรรีบถอนต้นนั้นทิ้ง และนำไปเผาทำลาย ในการป้องกันการเกิดโรคนั้นต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดอื่นในวงศ์แตงในบริเวณใกล้เคียง และพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหนะของโรคนี้ คือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เป็นระยะๆ แต่ต้องงดการฉีดก่อนการเก็บเกี่ยว

โรคราแป้งขาว (Powdery mildew) เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่ง ระบาดในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเกิดบนใบ และผล ทำให้ใบกรอบเป็นสีน้ำตาล อาจเกิดร่วมกับโรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นกำมะถันผง หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อราเบนโนมิล (Benomy)

แมลงศัตรูที่สำคัญ

เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง แลนแนท

ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือ ตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤทธิ์ป้องกันแมลงต่างๆ ได้ประมาณ 45 วัน แต่ไม่ควรใช้สารชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

หนอนชอนใบ (Leaf minor) เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเท่านั้นจึงจะได้ผล เช่น อะบาเมคติน เป็นต้น แต่ไม่ควรฉีดในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก่