Friday, May 2, 2014












 แม้การปลูก "เมล่อน" จะต้องลงทุนสูง และดูแลค่อนข้างยาก แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับ "สมัคร ศรชัย" เจ้าของ อาร์เอ็นพี ฟาร์ม (RNP FARM) เขาพลิกที่ดินร้างมายาวนานที่ ต.แปลงยาว อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ปลูกเมล่อน ส่งขายให้แก่ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร อาทิตย์ละ 1.5-2 ตัน ทำรายได้อาทิตย์ละถึง 1.5 แสนบาท
                          สมัคร บอกว่า ที่จริงไม่เคยคิดที่เข้ามาสู่วงการเกษตร เพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมาอยู่กับเครื่องยนต์มาตลอด แต่วันหนึ่งญาติๆ ต้องการเห็นเม็ดเงินงอกเงยขึ้นมาจากผืนดินที่ปล่อยทิ้งร้างมานาน เขาจึงคิดว่า น่าจะทำอะไรสักอย่าง จึงมีการศึกษาตลาดของพืชเศรษฐกิจแทบทุกชนิด เพื่อศึกษาดูถึงแนวโน้มการตลาดที่ดี ให้ผลตอบแทนและคุ้มค่ากับการลงทุน ในที่สุดเขามองว่า "เมล่อน" คือคำตอบสุดท้าย เนื่องจากคนนิยมบริโภคและราคาดีมาตลอด
                          "ครั้งแรกผมลงทุนสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกเมล่อน  5 โรงเรือน ขนาดกว้าง 9.40 เมตร สูง 4.70 เมตร ยาว 52 เมตร ต้นทุนโรงเรือนละกว่า 1 แสนบาท ปลูกเมล่อนได้ 1,500 ต้น ขยายขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีทั้งหมด 17 โรงเรือน ทุกอาทิตย์ผมต้องวางแผนเพาะเมล็ด เพื่อปลูกทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 โรงเรือน ผลผลิตให้ได้เกรดเอมาอาทิตย์ละ 1.5-2 ตัน ผลผลิตทั้งหมดคัดเกรดเอส่งห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ในราคาอยู่ที่ กก.ละ 65-70 บาท ตลอดทั้งปี เมื่อคำนวณรายได้แล้วเฉลี่ยตกที่สัปดาห์ละ 1.3-1.5 แสนบาท อีกส่วนหนึ่งที่เกรดรองลงมา ขายให้แม่ค้ารายย่อย และอีกส่วนหนึ่งขายเป็นของฝากของ จ.ฉะเชิงเทรา" สมัคร กล่าว
                          สำหรับการเมล่อน สมัคร บอกว่า ใช้ขุยมะพร้าวผสมกับทรายอัตราส่วน 1:1 เมื่อต้นกล้าอายุ 10 วัน ก็จะย้ายลงปลูกในถุงที่บรรจุวัสดุปลูก ส่วนการให้น้ำจะใช้หัวเจ็ตสเปรย์ ในช่วงต้นยังเล็กจะให้น้ำประมาณ 1,000 ลิตรต่อวัน เมื่อผลโตจะให้น้ำประมาณ 1,500-1,700 ลิตรต่อวัน พอเข้าช่วงหน้าร้อนจะเปิดน้ำวันละ 5-6 ครั้ง ใช้เวลาเปิดน้ำครั้งละ 3 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นช่วงฝนจะลดปริมาณน้ำลงเหลือประมาณ 1,000  ลิตรต่อวัน และให้น้ำเพียง 2 ครั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่ายเท่านั้น
                          ส่วนการให้ปุ๋ยนั้นในช่วงเดือนแรกหรือ 30 วันแรก จะให้สูตร 20-20-20 เมื่อต้นโตขึ้นเริ่มเดือนที่ 2 อายุ 31 วัน เปลี่ยนมาใช้สูตร 16-8-18 ปลายเดือนที่ 2 อายุ 56-60 วันเปลี่ยนมาใช้สูตร 13-0-46+ สูตร 0-0-50 ทุก 4-5 วัน จากนั้นเปลี่ยนมาใช้สูตร 0-0-50 อย่างเดียวในช่วงต้นเดือนที่ 3 หรือวันที่ 61 เพื่อเพิ่มความหวาน พอวันที่ 67 จะหยุดน้ำและปุ๋ย และสามารถตัดเมล่อนขายได้เมื่ออายุประมาณ 75 วัน   

การปลูกเมล่อนเราต้องผสมเกสรเอง จะเริ่มผสมเกสรเมื่อต้นเมล่อนอายุ 25-30 วัน ในช่วงเวลา 07.00-11.00 น. การผสมเกสรเพื่อช่วยให้เมล่อนติดดอกได้ดีในตำแหน่งที่ต้องการ โดยจะเลือกดอกในแขนงที่ 9-13 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดของการให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถ้าจะให้ดีจริงต้องข้อที่ 9 -11 แต่ต้องเผื่อไว้ถึง 5 แขนงเพื่อไว้เลือก ภายใน 1 1 โรงเรือนจะต้องผสมให้เสร็จภายในเวลา 5 วัน หลังจากผสมแล้วจะมาคัดผลเมล่อนขนาดเท่าไข่ไก่ จะคัดผลที่ดีที่สุดไว้เพียง 1 ผลต่อต้นเท่านั้น" เขา กล่าว
                          เวลาผ่านไปแล้ว 2 ปีที่ สมัคร ปลูกเมล่อนส่งให้กับห้างสรรพสินค้าแม็คโคร แต่เขายอมรับว่า การปลูกเมล่อนยังมีอะไรที่จะต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาการผลิตให้ดียิ่งขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อย่างทุกวันนี้เขายังเรียนรู้เกี่ยวกับเมล่อนพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อมาทดสอบปลูกอยู่ตลอดเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีที่สุด รวมทั้งเทคนิคการผลิตที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด การจัดการกับโรค-แมลงที่ต้องแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เห็นรูปลักษณ์กลมเกลี้ยง คุ้นๆ ว่าเป็นแคนตาลูปที่เคยรับประทาน แต่เฉลยว่า มันคือ "เมล่อน" ของดีจากแดนอาทิตย์อุทัย เติบโตสดใสในสยาม

เห็นรูปลักษณ์กลมเกลี้ยง คุ้นๆ ว่าเป็นแคนตาลูปที่เคยรับประทาน แต่เฉลยว่า มันคือ "เมล่อน" ของดีจากแดนอาทิตย์อุทัย เติบโตสดใสในสยาม

  ชาติประชา  สอนกลิ่น เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน งานทดลองเจียไต๋-เนต้าฟิม จากโรงเรือนเนต้าฟิม ไร่ชนม์เจริญฟาร์ม จังหวัดกาญจนบุรี ให้ความกระจ่างว่า เมล่อน(Melon) เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง คล้ายแคนตาลูป แต่มีความแตกต่างกันที่รสชาติ ความหอม กลิ่นและเนื้อของผล 

ขึ้นกับสายพันธุ์ชนิดต่างๆ ซึ่งในเมืองไทยเรานิยมเมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความหวาน หอม และอร่อย

  ช่วงเดือนมิถุนายน หรือช่วงซัมเมอร์ที่ประเทศญี่ปุ่น เมล่อนระดับคุณภาพสูง จะมีราคาค่อนข้างสูงมาก ถึงแม้จะผลไม้ตามฤดูกาลก็ตามที เพราะเกษตรกรชาวญี่ปุ่น จะเพาะปลูกเมล่อนในเรือนกระจกและมีการควบคุมการเพาะปลูกเป็นอย่างดี และที่ขึ้นชื่อก็คือเมล่อนทรงสี่เหลี่ยม จากจังหวัดไอจิ นั่นเอง
 แต่เมื่อพวกมันข้ามน้ำข้ามทะเลมาอยู่เมืองไทย ก็ปรับตัวได้เป็นอย่างดี โดยจะชอบอากาศแห้ง ชอบดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดี แต่ถ้าจะให้ได้เมล่อนคุณภาพดี เต็มไปด้วยโภชนาการเต็มสูบ ก็จำเป็นต้องพึ่งพาขั้นตอนและวิธีการเพาะปลูกที่ถูกต้อง
 เกษตรกรของไทย เล่าว่า เมล่อนเป็นผลไม้ที่มีความไวต่อปริมาณน้ำ และความสมบูรณ์ของลำต้นเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากสืบเสาะหาต้นตอได้ อาจย้อนรอยไปดูที่ต้นของมันว่าจะต้องสมบูรณ์  ได้รับปริมาณน้ำ ปุ๋ยในขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รสชาติหวาน หอม และเนื้อเนียน
 นักวิชาการของเจียไต๋มีเทคนิคง่ายๆ (Tips)  เพื่อให้ผู้รักผลไม้สามารถเลือกซื้อเมล่อนที่รสชาติหอมหวาน ถูกใจ  โดยเริ่มจากรูปลักษณ์ภายนอกก่อน ควรเลือกเมล่อนจากความสมบูรณ์ของผลที่สวย น้ำหนักดี มีลักษณะเป็นผลกลมสวย   จากนั้นก็มากลิ้งรอบผล เพื่อดูลายที่เปลือกของเมล่อนควรมีลักษณะเป็นตาข่ายพาดกันอย่างสวยงาม และผิวผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุกเต็มที่

หากตามร้านค้าของสดหรือตลาด สามารถผ่าครึ่งให้ดูได้ ให้พินิจพิเคราะห์ดูว่าเนื้อของเมล่อนจะมีสีเขียวอมเหลือง และเมื่อนำจมูกเข้าไปใกล้ ก็จะมีกลิ่นหอมชวนกิน ติดจมูกขึ้นมาเลย
 การทานเมล่อนให้อร่อยนั้น ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่า ก่อนทานควรแช่เมล่อนทั้งผลไว้ในตู้เย็นประมาณ 1-1 ชั่วโมงครึ่ง แล้วนำมาผ่าครึ่งใช้ช้อนเขี่ยเฉพาะเมล็ดทิ้ง ไม่ควรใช้มีดปาดไส้กลางทิ้ง แบบการปลอกมะละกอ เนื่องจากไส้กลางบริเวณที่ติดกับเมล็ดนั้นเป็นส่วนที่หวานที่สุดของเมล่อน หลังจากนั้นนำมาผ่าเป็นเสี้ยวแล้วตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอดีคำ ก็จะได้เมล่อนที่หวานอร่อย ที่สำคัญควรหั่นให้พอดีทานหมดเท่านั้น ไม่ควรแช่เมล่อนที่หั่นเป็นชิ้นๆแล้วทิ้งไว้ในตู้เย็น จะทำให้เสียรสชาติ 
 สำหรับชาวญี่ปุ่น หรือภัตตาคารญี่ปุ่นในประเทศไทย จะเลือกเสิร์ฟเมล่อนสดที่สุกกำลังดี เนื้อนุ่ม เนียน หวานฉ่ำ แต่หลายคนก็นำมาประยุกต์ทำเป็นเค้กใส่เมล่อน ไอศกรีมเมล่อน เจลลี่เมล่อน ขนมปังเมล่อน ก็อร่อยไปอีกแบบ ในขณะเดียวกันก็มักจะซื้อเมล่อนเป็นของเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาลด้วย
 เหตุผลสำคัญเพราะมันมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในปริมาณสูง มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ซึ่งล้วนให้ประโยชน์แก่ร่างกายทั้งนั้น แถมยังไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล อีกทั้งแคลอรีต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
 นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเอนไซม์ในน้ำเมล่อนชื่อว่า superoxide dismutase มีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดกระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย ส่งผลให้สามารถลดระดับความเครียดของคนเราได้ ทำให้ความเจ็บปวด ปัญหาการนอนหลับลดลงได้ รวมทั้งมีกระบวนการรับรู้ที่ดีขึ้น เช่น มีสมาธิมากขึ้น สามารถปรับพฤติกรรม ลดอารมณ์ฉุนเฉียวโมโหง่าย ดูเป็นมิตรขึ้นได้อีกต่างหาก
 ถ้ายังไม่รู้ว่าจะหยิบอะไรเข้าปาก ผลไม้ที่ชื่อ "เมล่อน" ก็น่าสนใจไม่หยอก เพราะนอกจากจะไม่อ้วน ต้านแก่แล้ว ยังลดความเครียดได้ฉับพลันอีกด้วย





โรงเรือนไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ผู้ปลูกสามารถปลูกในพื้นที่โล่งแจ้งได้เช่นเดียวกับการปลูกโดยใช้ดิน อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ผู้ปลูกนิยมปลูกในโรงเรือน ทั้งนี้เพราะผู้ปลูกได้รับประโยชน์หลายอย่างจากการปลูกในโรงเรือน เช่น
  1. สามารถป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปทำลายพืชที่ปลูก ทำให้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ผู้บริโภคพืชผักที่ปลูกโดยวิธีนี้จึงมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในผลผลิต
  2. ป้องกันน้ำฝนลงไปเจือปนในสารละลายธาตุอาหาร จนสารละลายเจือจางเกินไปไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช และมีปริมาตรที่เพิ่มขึ้นจนไหลล้นออกมาจากเครื่องปลูก ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับการปลูกพืชทั้งระบบ
  3. สามารถควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เช่น ความเข้มแสง ระยะเวลาที่พืชรับแสง ความเข้มข้นของแก๊ส CO2 และอุณหภูมิ เป็นต้น ทำให้สามารถผลิตพืชได้ทั้งปี โดยไม่ต้องอาศัยฤดูกาลตามธรรมชาติเข้าช่วย ผู้ปลูกสามารถวางแผนการผลิตได้ง่าย และเสี่ยงต่อการแปรปรวนของธรรมชาติน้อยกว่าการปลูกในพื้นที่โล่งแจ้ง
  4. สามารถออกแบบให้เป็นการผลิตอัตโนมัติ เช่นเดียวกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ง่าย ช่วยประหยัดแรงงานในการดำเนินการ
  5. ลดโอกาสในการสัมผัสสิ่งสกปรก ทำให้พืชที่ผลิตได้ สะอาดไม่เป็นพาหะนำโรค
  6. สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์พยุงลำต้น อุปกรณ์แขวนผล เป็นต้น ได้ง่าย และอาจติดตั้งเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้งานติดต่อกันได้หลายฤดูปลูก
  7. มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี และสะอาดไม่เปื้อนดินโคลน ช่วยให้ผู้ปลูกมีความเพลิดเพลินในการทำงานมากกว่า
โรงเรือนอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ปลูกในบางประเด็น โดยเฉพาะต้นทุนในการก่อสร้าง สินค้าเกษตรมักเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงผู้ลงทุนจึงต้องวางแผนอย่างรัดกุม นอกจากนี้โรงเรือนยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการผสมเกษรของพืช แมลงธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการผสมเกษรไม่สามารถเข้าไปช่วยผสมเกษรได้ ผู้ปลูกจึงควรเลือกชนิดของพืชที่ไม่ได้รับผลกระทบในการผสมเกษร เช่น พืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ หรือพืชกินใบ เป็นต้น

โรงเรือนสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
  1. ส่วนที่ใช้ปลูกพืช เป็นส่วนที่จะใช้ติดตั้งเครื่องปลูก หลังคาควรทำด้วยวัสดุโปร่งใส เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านไปยังพืชได้ พืชบางชนิดต้องการแสงน้อย ดังนั้นโรงเรือนปลูกพืชอาจต้องใช้แผ่นพลาสติกลดความเข้มแสง โรงเรือนส่วนนี้อาจแบ่งออกเป็นโรงเรือนเพาะต้นกล้า อนุบาลต้นกล้า และโรงเรือนปลูก ภายในโรงเรือนปลูกอาจแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ (segment) เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมการระบาดของโรค และวางแผนการผลิตได้ง่ายขึ้น
  2. ส่วนที่ใช้ติดตั้งระบบปรับสภาพสารละลายและเตรียมสารละลาย รวมทั้งส่วนที่ใช้เตรียมน้ำสะอาด โรงเรือนส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้หลังคาโปร่งใส อาจสร้างรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนแรก หรือสร้างเป็นอาคารแยกอิสระต่างหากก็ได้ การออกแบบและการวางตำแหน่งควรคำนึงถึงความสะดวกในการรับ-จ่ายสารละลายไปยังโรงเรือนส่วนที่ 1 โดยทั่วไปมักออกแบบให้อยู่ไม่ไกลจากส่วนที่ 1
  3. ส่วนที่ใช้สำหรับกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว กิจกรรมหลังเก็บเกี่ยวมีหลายอย่าง เช่น การล้าง การตัดแต่ง การคัดเกรด ห้องเย็น และการบรรจุหีบห่อ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก การวางตำแหน่งไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ส่วนที่ 1 และ 2 แต่ระยะทางที่ไกลเกินไปอาจเป็นอุปสรรคในการลำเลียงผลผลิต
  4. ส่วนที่ใช้เก็บวัสดุ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่ว่าระบบใด มีการใช้วัสดุต่างๆ จำนวนมากและหลายชนิด ดังนั้นผู้ปลูกจึงจำเป็นต้องเตรียมโรงเรือนส่วนนี้ไว้ และอาจแบ่งเป็นส่วนๆ ตามความเหมาะสมในการใช้งาน เช่น ส่วนที่ใช้เก็บเครื่องจักร อะไหล่ของเครื่องจักร และน้ำมัน ส่วนที่ใช้เก็บเครื่องปลูกและวัสดุค้ำจุนราก และส่วนที่ใช้เก็บวัสดุที่ใช้ในกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว เป็นต้น แต่ละส่วนไม่จำเป็นต้องอยู่ในอาคารเดียวกัน อาจไว้ใกล้บริเวณใช้งานเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ควรเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในบริเวณที่มีการเก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง
  5. ส่วนที่ใช้เป็นสำนักงาน ส่วนนี้ใช้สำหรับการดำเนินงานด้านบริหารจัดการ เช่น การจัดทำและจัดเก็บเอกสารต่างๆ การติดต่อกับหน่วยงานภายนอก การประชุม และการพักผ่อน เป็นต้น ส่วนนี้ไม่จำเป็นนักหากเป็นกิจการขนาดเล็ก หรือกิจการภายในครัวเรือน
ส่วนต่างๆ ที่กล่าวอาจแยกเป็นโรงเรือนอิสระ หรือรวมอยู่ภายในโรงเรือนเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและขนาดของกิจการ


โรงเรือนสำหรับปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกหรือการออกแบบออกแบบโรงเรือนที่เหมาะสมต่อความต้องการ จำเป็นต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างของพื้นที่ก่อสร้างโรงเรือนประกอบกัน ได้แก่
  • ลักษณะภูมิอากาศ เช่น อากาศร้อนในบางฤดูและหนาวมากในบางฤดู ฝนตกหนักในบางฤดู อากาศแห้งในบางฤดู และลมแรงในบางฤดู เป็นต้น
  • ลักษณะภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ก่อสร้างเป็นที่ลุ่มน้ำขังในบางฤดู เป็นต้น
  • ระบบปลูกที่เลือกใช้ การติดตั้งอุปกรณ์ของระบบปลูกแต่ละระบบแตกต่างกัน จึงต้องออกแบบรายละเอียดภายในโรงเรือนที่แตกต่างกัน ระบบปลูกที่ต้องการการหมุนเวียนสารละลาย อาจต้องสร้างหลุมในโรงเรือนเพื่อวางถัง
  • ชนิดของพืชที่ต้องการปลูก พืชจำพวก แตงและมะเขือเทศ จำเป็นต้องออกแบบให้มีเครื่องค้ำจุนลำต้น ในขณะที่ผักไม่จำเป็นต้องมี โรงเรือนสำหรับปลูกกล้วยไม้และหน้าวัวจำเป็นต้องมีการพรางแสง
  • ปริมาณการผลิต และความแปรปรวนในรอบปี ราคาพืชส่วนใหญ่แปรปรวนตามปัจจัยด้านการตลาด การผลิตจึงอาจจำเป็นต้องหมุนเวียรปลูกพืชหลายชนิดสลับกัน เพื่อเลือกพืชราคาเหมาะสมในฤดูนั้นๆ โรงเรือนจึงจำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการปลูกพืชหลายชนิด
  • การระบาดของศัตรูพืช พื้นที่ซึ่งมีการระบาดของศัตรูพืชรุนแรง จำเป็นต้องเข้มงวดในการป้องกัน หรือสลับไปปลูกพืชชนิดอื่นในฤดูที่มีการระบาด จึงต้องออกแบบโรงเรือนในตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ได้ เพื่อลดความเสียหาย
  • ทุนและแหล่งทุนของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่มีทุนน้อยอาจจำเป็นต้องเลือกสร้างโรงเรือนราคาถูกก่อนในระยะเริ่มต้น
  • ขนาดพื้นที่ การสร้างโรงเรือนในพื้นที่น้อย จำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในลำดับต้นๆ ของการตัดสินใจ ในขณะที่การออกแบบโรงเรือนในพื้นที่กว้างสามารถพิจารณาปัจจัยอื่นก่อน
  • ลักษณะการใช้ประโยชน์ โรงเรือนที่ต้องการปลูกพืชเพื่อการจัดแสดง จำเป็นต้องคำนึงถึงความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมในลำดับต้นๆ ในขณะที่โรงเรือนเพื่อการผลิต ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนเป็นลำดับต้นๆ
รูปแบบโรงเรือนสามารถจำแนกตามรูปทรง ได้ดังนี้
1. โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วแบบสมมาตร (even span หรือ single span) เป็นรูปแบบโรงเรือนที่ใช้กันแพร่หลายในเขตอบอุ่นและเขตหนาว หลังคาอาจออกแบบให้เปิดได้เพื่อระบายอากาศร้อนในฤดูร้อน รูปแบบอาคารแบบนี้ไม่ค่อยเหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน (รูปขวา : โรงเรือนปลูกพืชเพื่อการจัดแสดง ณ สวนพฤษศาสตร์ฯ จังหวัดเชียงใหม่)

2. โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วสองชั้น อาคารรูปแบบนี้สร้างขึ้นเพื่อให้อากาศร้อนภายในอาคารระบายออกได้ดี แม้ในช่วงฝนตกน้ำฝนก็ไม่สาดเข้ามาภายในอาคารโรงเรือน อาคารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน

3. โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วแบบไม่สมมาตร (uneven span) โรงเรือนแบบนี้จะมีหลังคาด้านหนึ่งยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง เหมาะสำหรับการก่อสร้างในพื้นซึ่งเป็นเนินเขา

4. โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลม (quonset) เป็นแบบโรงเรือนที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในเขตอบอุ่นและเขตหนาวอีกแบบหนึ่ง การก่อสร้างไม่ซับซ้อนมากนัก เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการมุงหลังคาด้ววัสดุที่โค้งงอได้ง่าย เช่น แผ่นพลาสติกชนิดต่าง ๆ การระบายอากาศร้อนทำได้ยากจึงไม่เหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน

5. โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลมเหลื่อม เป็นโรงเรือนที่ออกแบบให้ง่ายต่อการระบายอากาศร้อน เนื่องจากหลังคามีช่องเปิด โรงเรือนแบบนี้จึงเหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน (รูปขวา : )

6. โรงเรือนหลังคาครึ่งทรงกลม (dome) โรงเรือนแบบนี้ยากต่อการขยายให้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง จึงไม่ค่อยนิยมสร้างสำหรับการผลิตพืชในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้มีจุดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมใน Botanical Garden หรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

7. โรงเรือนหลังคาต่อเนื่อง (ridge and furrow) โรงเรือนแบบนี้จะสร้างหลังคาแบบหน้าจั่วหรือครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน เพื่อให้โรงเรือนคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และมีค่าก่อสร้างต่ำกว่าการสร้างหลังคาเดี่ยวขนาดใหญ่ (รูปขวา : โรงเรือนปลูกพืชทดลอง ณ มหาวิทยาลัย Wagenningen ประเทศเนเธอร์แลนด์)

8. โรงเรือนขนาดเล็ก โรงเรือนขนาดใหญ่ช่วยให้สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนได้ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียหลายอย่า เช่น เสียพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทางเดินและลำเลียงวัสดุ ทำให้มีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นในส่วนที่ไม่จำเป็นนี้ ค่าก่อสร้างแพงและต้องใช้เงินลงทุนครั้งละมากๆ และแก้ไขได้ยากเมื่อเกิดการระบาดของโรคหรือแมลง เป็นต้น ในพื้นที่เขตร้อนของโลก ซึ่งมีอุณหภูมิสูงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชตลอดทั้งปี การสร้างโรงเรือนขนาดใหญ่ เพื่อเก็บความร้อนให้มีอุณหภูมิสูงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชจึงไม่จำเป็น โรงเรือนขนาดเล็กที่มีเพียงหลังคากันฝน หรือมีมุ้งกันแมลงก็เพียงพอต่อการปลูกพืช นอกจากนี้ เกษตรกรยังไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงในครั้งเดียว สามารถวางแผนการผลิตได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่ำ จึงเป็นที่นิยมของเกษตรกรในหลายพื้นที่ (รูปบนขวา : โรงเรือนขนาดเล็กในประเทศบราซิล รูปล่างขวา : โรงเรือนขนาดเล็กเพื่อการปลูกพืชสาธิต ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดกระบี่ รูปล่าง : โรงเรือนขนาดเล็กเพื่อการปลูกพืชทดลองของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

การมอบผลไม้เป็นของกำนัล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นิยมทำกันทั่วไปในญี่ปุ่น แต่มีผลไม้อีกประเภทที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ตามแผงค้าผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป  เนื่องจากมันได้รับการเพาะปลูกและดูแลอย่างเป็นพิเศษ และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ราคาของมันจึงสูงลิบลิ่ว จนชาวบ้านอย่างเราๆได้แต่มองตาปริบๆ
ที่ร้านจำหน่ายผลไม้ "เซ็มบิกิยา" ในย่านใจกลางกรุงโตเกียว หนึ่งในเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก เสียงเพลงคลาสสิกเปิดคลอเบาๆ ไปพร้อมกับพนักงานในชุดเครื่องแบบสุภาพเรียบร้อย คอยดูแลเอาใจใส่ลูกค้าคนสำคัญที่กำลังเลือกซื้อผลไม้ ท่ามกลางบรรยากาศที่โอ่โถง การตกแต่งที่ดูสบายตา

ยูชิโอะ โอชิมา เจ้าของร้านผลไม้วีไอพี เดินตรวจตราในร้านด้วยความใส่ใจ เขาถือเป็นคนรุ่นที่ 6 ของตระกูล ที่สืบทอดธุรกิจจำหน่ายผลไม้มานานกว่า 130 ปี  หรือย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 ที่การจำหน่ายผลไม้ยังคงเป็นรูปแบบดั้งเดิม คือการกองตั้งสูงๆและจำหน่ายในราคาย่อมเยา
 กระทั่งภรรยาของเจ้าของร้านรุ่นที่ 2 เล็งเห็นว่า น่าจะมีการปรับปรุงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจเสียใหม่ เพื่อเปลี่ยนผลไม้ให้กลายเป็นเงินอย่างแท้จริง และนับตั้งแต่นั้น กระทั่งปัจจุบัน ที่นี่ได้กลายเป็นร้านจำหน่ายผลไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก โดยที่ไม่มีใครคิดต่อกร
แอปเปิลแดงสดเสมอกันลูกโตๆ ไร้รอยตำหนิให้รกตา ขนาดเท่าศีรษะของทารก ถูกตั้งราคาไว้ที่ 2,100 เยน (ประมาณ 777 บาท) "ต่อลูก" มิใช่ต่อถุงอย่างที่เราเคยซื้อกัน
ขณะที่"สตรอว์เบอร์รีราชินี"ขนาดคัดพิเศษของร้าน วางจำหน่ายในแพ็คเกจขนาด 12 ลูกพอดิบพอดี โดยตั้งราคาไว้ที่ 6,825 เยน (ประมาณ 2,525 บาท) แม้ในวันธรรมดาที่ยอดขายปกติก็สามารถขายได้ถึง 50 กล่อง หรือถ้าสนใจแตงเมลอนญี่ปุ่น ที่ถูกคัดมาอย่างดี แต่ละลูกกลมกลึงได้สัดส่วนไร้ที่ติ ร้านก็มีจำหน่ายในราคา 18,900 เยนต่อลูก (ประมาณ 6,993 บาท)  

โอชิมาเผยว่า ร้านของเขาเชี่ยวชาญในการคัดเลือกผลไม้เพื่อนำมาเป็นของกำนัล ซึ่งแน่นอนว่าทุกลูกต้องอยู่ในสภาพที่ไร้ที่ติ และสภาพภายนอกถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกเหนือการให้บริการที่ดี  ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมลูกค้าจึงต้องจ่ายเงินในราคาสูงกว่าปกติ

โดยทั่วไป ครอบครัวชาวญี่ปุ่นทั่วไปมักมอบของกำนัลกัน 2 ครั้งต่อปี  ครั้งแรกในช่วงฤดูร้อน และอีกครั้งในฤดูหนาว  แต่ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่แท้จริงอาจมากกว่านั้น บางครั้งเพื่อเป็นการแสดงความมีไมตรีจิต เช่น เจ้าของธุรกิจมักส่งของกำนัลให้แก่ลูกค้าหรือคู่ค้า
นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเดินทางไปโตเกียว มักรู้สึกประหลาดใจต่อการจัดวาง และราคาของสินค้าตามซูเปอร์มาร์เก็ต ผลไม้ที่มีรูปร่างบิดเบี้ยว มีตำหนิ จะไม่มีวันได้เผยโฉมตามชั้นสินค้า  องุ่นมาในพวงแน่นๆและถุกตัดแต่งมาอย่างดี  ขณะที่ผลไม้ประเภทอื่น ดูดีและสมบูรณ์ รสชาติหวานหอมไร้ที่ติ กระทั่งลูกค้าหลายคนคิดว่ามันอาจเป็นของปลอม

ในย่านใจกลางกรุงโตเกียว แอปเปิลธรรมดาๆ อาจมีราคาอยู่ที่ราว 60 บาทหรือมากกว่านั้น  ฮิโรโกะ อิชิกาว่า เจ้าของธุรกิจกระจายสินค้าเผยว่า ผลไม้ยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ซึ่งแตกต่างจากผัก ซึ่งเป็นอาหารที่เราจำเป็นต้องรับประทานทุกวัน แต่ผลไม้เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเช่นนั้น ซึ่งเหมือนกับเราซื้อของบางอย่างเพราะมันดูดี  เธอกล่าวว่าเรื่องเช่นนี้อาจมีเฉพาะในญี่ปุ่น เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าชาติใดๆ

ที่จังหวัดชิซุโอกะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้โดยทางรถไฟประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เป็นพื้นที่ปลูกแตงเมลอนที่ดีที่สุดในประเทศ ที่นี่ เกษตรกรกว่า 600 ราย ทราบดีว่าจะปลูกอย่างไรให้แตงออกมาดีที่สุด แม้ในยามที่พื้นดินเต็มไปด้วยหิมะ

มาซาโอมิ ซูซุกิ ทำงานในฟาร์มแบบปิดมานานกว่า 50 ปี  แม้กระนั้น เขากล่าวว่า เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการปลูกแตงทุกวัน  กระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์  ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งทำการวิจัยเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆทุกปี  ขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่ไร้คุณภาพจะถูกคัดออก

เมื่อลำต้นเติบโตขึ้นและเริ่มออกผลเล็กๆ แต่ละต้นจะถูกตกแต่งให้เหลือเพียงต้นละผล เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่  การตัดเล็มเป็นไปด้วยความระมัดระวัง  กระทั่งลำต้นเรียงเป็นแถวเสมอกัน และได้ผลเมลอนเรียงเป็นแถวสวยงาม พร้อมทั้งไม้ค้ำเพื่อไม่ให้ผลถ่วงลำต้น  เมื่อผลโตได้ที่ ซูซุกิจะใช้หมวกพลาสติกเพื่อห่อผลเพื่อป้องกันแสงแดด
 เขาเชื่อว่านี่เป็นวิธีการดูแลเอาใจใส่ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับฟาร์มเมลอนอื่นๆทั่วประเทศขณะที่ฟาร์มอื่นอาจใช้วิธีการดูแลที่ต่างกันไปและปล่อยให้มีเมลอนหลายผลต่อหนึ่งต้น และเรียกชื่อวิธีการดังกล่าวตามนามสกุลของตนเองว่า "วิธีซูซุกิ"  ผลที่ได้ก็คือ  เมลอนที่มีสีเขียวอ่อน ผิวที่เสมอกันไร้ที่ติ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ก้าน ที่จะต้องเป็นรูปตัวที จึงจะเป็นแตงที่สมบูรณ์ที่สุด และแม้ว่าเขาจะใช้ความพยายามมากเพียงใด ก็พบว่า ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลผลิตทั้งหมดเท่านั้
การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์มแบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง  ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง  ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!



ประโยชน์เมล่อน ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ ที่ไม่ควรมองข้าม

รู้หรือไม่คะว่า เมล่อน เป็นผลไม้ที่สาวๆ ต้องหันมารับประทานกันแล้วคะ ทำไมนะหรือ?

เหตุผลสำคัญเพราะมันมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในปริมาณสูง มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน แคลเซีย
มี ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ซึ่งล้วนให้ประโยชน์แก่ร่างกายทั้งนั้น แถมยังไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล อีกทั้งแคลอรีต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเอนไซม์ในน้ำเมล่อน ชื่อว่า superoxide dismutase มีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดกระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย ส่งผลให้สามารถลดระดับความเครียดของคนเราได้ ทำให้ความเจ็บปวด ปัญหาการนอนหลับลดลงได้ รวมทั้งมีกระบวนการรับรู้ที่ดีขึ้น เช่น มีสมาธิมากขึ้น สามารถปรับพฤติกรรม ลดอารมณ์ฉุนเฉียวโมโหง่าย ดูเป็นมิตรขึ้นได้อีกต่างหาก

ถ้ายังไม่รู้ว่าจะหยิบอะไรเข้าปาก ผลไม้ที่ชื่อ “เมล่อน” ก็น่าสนใจไม่หยอก เพราะนอกจากจะไม่อ้วน ต้านแก่แล้ว ยังลดความเครียดได้ฉับพลันอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก SAFETY FARM ที่เอื้อเฟือข้อมูลครับ

Wednesday, September 11, 2013

วิธีการเพาะปลูก
การเตรียมดินและแปลงปลูก | การเพาะกล้าการเพาะกล้า และการย้ายกล้า | การเด็ดแขนง | การเตรียมค้างผูกเชือก และขึ้นยอด | การตัดแต่งแขนงและไว้แขนงก่อนผสม | การผสมเกสร | การคัดเลือกผล | การแขวนผล | การพัฒนาของผลและการเก็บเกี่ยว | การเก็บเกี่ยว | โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อน | แมลงที่สำคัญ
 
Show as multiple pages
การเตรียมดินและแปลงปลูก
ดินที่เหมาะกับการเจริญต้องประกอบด้วย แร่ธาตุอาหาร 45%สารอินทรีย์ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25%
ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 เนื่องจากแตง เมล่อนมีระบบรากแก้วอาจเจริญในแนวดิ่งลึก 80-120 cm.รากแขนงจะเจริญในแนวนอนอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับ 30 cm.จากผิวดิน
การเตรียมดินควรไถดะหน้าเพื่อตากแดดฆ่าเชื้อโรคประมาณ 14 วัน(โดยปิดโรงเรือนให้มิดชิดพยายามไม่ให้มีอากาศภายในและภายนอกมีการถ่ายเทอากาศ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในโรงเรือนให้สูงมากยิ่งขึ้น 
หากเป็นพื้นที่ ที่มีการเพาะปลูกติดต่อมาหลายครั้ง ควรกระทำดังนี้
1. พักแปลงการเพาะปลูกประมาณ 3-4 เดือน
2.  สลับการเพาะปลูกพืชตระกูลถั่ว
3. เปลี่ยนพืชการเพาะปลูกเป็นชนิดอื่น
4. ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  
 
โดยไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 20-30 cm.ให้ใส่ปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก พร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แล้ว ไถแปร    พรวนดินและยกแปลงปลูกสูง 30 cm.ระยะห่างระหว่างสันแปลง 1.5 เมตร (ก่อนคลุมแปลงให้วางสายน้ำหยดก่อน โดยวางสายให้หัวน้ำหยดหงายอยู่ข้างบน) คลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกัน     วัชพืชและรักษาความชื้นของดินพลาสติกเจาะหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 45 X 60 cm

การเพาะกล้าการเพาะกล้า และการย้ายกล้า
 
ลักษณะต้นกล้าที่ดี   ( ใส่ภาพการเพาะกล้า )
ต้นแข็งแรงและโตสม่ำเสมอได้ตามอายุ
ตรงตามลักษณะสายพันธุ์
ปราศจากโรคและแมลง
  
 
วิธีการเพาะกล้า
 1. การบ่มเมล็ด
 

1.1 นำเมล็ดพันธุ์เมล่อนแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมกับ อโทนิค 1 ซี.ซี. โดยให้เมล็ดทุกส่วนถูกน้ำ แช่เมล็ดนาน 20 นาที
1.2 นำเมล็ด(ไม่ควรวางหนาแน่นเกินไป )มาวางในกระดาษเพาะกล้าหรือผ้าขาวบางชุบน้ำมาดๆ แล้วจึงห่อเมล็ด
1.3 ห่อกระดาษเพาะเมล็ดอีกครั้งด้วยถุงพลาสติกใสหรือถุงใส่แกง เก็บในที่อุณหภูมิ 28- 30 องศาเซลเซียส โดยใส่ในภาชนะที่มิดชิด เช่น กระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิ นานประมาณ  24 ชั่วโมง
 
 
  
 
*คำแนะนำ   เมื่อเปิดซองเมล็ดพันธุ์แล้วควรเพาะให้หมดในคราวเดียว เพราะเมล็ดพันธุ์ที่เหลือเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลง จึงควรเลือกซื้อปริมาณตามความต้องการใช้ *
  
 2. การเพาะกล้า
 

 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอสเจียไต๋ ถุงสีเหลือง ผสมกับ เวอร์มิคูไลท์ ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 เป็นวัสดุเพาะ) ลงในถาดเพาะกล้าขนาด 50 หลุม ไม่แน่นเกินไป รดน้ำให้ชุ่ม
 นำเมล็ดจากข้อ 1.3 มาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ
 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดด
 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 10 - 12 วัน
 
 
 
  
 3. การย้ายกล้า
 
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 2 ใบ หรืออายุไม่เกิน 12 วัน(หลังจากหยอดเมล็ด) ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
 
 
• หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อนปลูกอย่างน้อย 1 วัน
 ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่มและพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช
 ควรย้ายกล้าในช่วง เย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด
 หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า
 ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต(ควรฉีดยาป้องกันเชื้อรา)
 เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้น
 กลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า

การเด็ดแขนง
ให้เด็ดแขนงข้อที่ 1 – 8 ออก เมื่อเมล่อนอายุ 9 - 14 วันหลังย้ายปลูก
การเด็ดแขนงควรทำในขณะที่แขนงยังมีขนาดเล็ก และทำในตอนเช้าจะทำให้แผลแห้งเร็ว แล้วให้ฉีดพ่นสารกันเชื้อราในตอนเย็น
เมื่อเด็ดออกจะทำให้ยอดแตงเจริญเติบโตได้เร็ว

การเตรียมค้างผูกเชือก และขึ้นยอด
การขึ้นยอดควรทำช่วงเช้า
ควรจัดเถาเมล่อน 1 เถาต่อต้น เมื่อเมล่อนเริ่มทอดยอด ให้พันยอดกับเชือก 2 วันต่อครั้ง อย่าปล่อยให้ยอดเลื้อย

การตัดแต่งแขนงและไว้แขนงก่อนผสม
 ตำแหน่งที่ไว้แขนงผสมดอก
ให้เลี้ยงแขนงข้อ 9 -12 เอาไว้ผสม
ควรเด็ดยอดแขนงให้เหลือ 2 ใบ
เหนือข้อที่ 12 ให้เด็ดแขนงย่อยออก
เด็ดยอดในข้อที่ 25 ให้มีจำนวนใบ 22 - 25 ใบ

การผสมเกสร
 ดอกเมล่อนเป็นสมบูรณ์ คือมีเกสรตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
ดอกตัวผู้จะอยู่ระหว่างข้อบนลำต้น
การผสมเกสรควรทำในตอนเช้าเวลา 7.00 – 10.00 น.
เลือกผสมดอกเพียง 2 - 3 แขนงต่อต้น
ควรจดบันทึกที่ดอกบานหรือจำนวนดอกที่ผสมในแต่ละวัน(ใช้ไหมพรมหลากสีพันขั้วผล เพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยว)
ให้ฉีดพ่น นูริช อัตรา 15 ซีซี/ 20 ลิตร ทุกๆ 3 วัน ประมาณ 2 สัปดาห์

การคัดเลือกผล
 เลือกแขนงที่มีผลรูปทรงไข่ ผลใหญ่
ผลสมบูรณ์ที่สุด ไม่มีรอยขีดข่วน
ไม่มีโรค และแมลงเข้าทำลาย
เมื่อได้ลูกที่สมบูรณ์แล้ว ควรตัดลูกที่ไม่ต้องการทิ้งให้เหลือไว้เพียง 1 ผล
ควรปรับเพิ่มปริมาณการให้น้ำและปุ๋ยเพื่อให้ผลโตได้เต็มที่ไม่เกิน 18 วันหลังผสมเกสร
ให้นำเชือกมาแขวนผลให้อยู่ในที่โปร่งและได้รับแสงสม่ำเสมอ

การแขวนผล
 ใช้เชือกคล้องที่ขั้วผลไว้เพื่อรับน้ำหนัก โดยยึดผลไว้กับค้างที่ยึดต้นเมล่อน
ควรแขวนผลให้ขนานกับพื้นเพื่อความสะดวกในการปฎิบัติงานในฟาร์ม

การพัฒนาของผลและการเก็บเกี่ยว
 อายุผล ฤดูร้อนประมาณ 40 วัน, ฤดูฝนประมาณ 43 วัน  และฤดูหนาวประมาณ 45 วัน
วัดความหวานด้วย Hand Refractometer (แบบคั้นน้ำ) ลูกอ่อน 12 brix, ลูกแก่13 brix ในช่วงระยะผลสุกแก่ เมล่อนจะต้องการน้ำน้อยลง 

การเก็บเกี่ยว
 สีผลเขียวเข้มและตาข่ายขึ้นนูนชัดเจน เต็มผล
นับอายุผลหลังการผสมดอก 43-45 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ขั้วผลยกนูน หรือมีแนวแยกตามยาวที่ก้านผล
ถ้าก้นผลนิ่มแสดงว่าสุกมากเกินไป
สภาพต้นต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค
ระหว่างการเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรตั้งผลเมล่อนบนพื้นดิน ควรจัดหาภาชนะมารองรับ
ผลเมล่อนไม่ควรตากแดดหรือตั้งในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรเคลื่อนย้ายมายังที่ร่มหรืออุณหภูมิต่ำเพื่อลดอัตราการหายใจของผลผลิต

โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อนมีดังต่อไปนี้

1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt)
 เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ

เชื้อสาเหตุ : 
Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races)

ลักษณะอาการ : 
เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายอย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย

การป้องกันกำจัด• ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5
• ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค
• ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา
• ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน

2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight )  


เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae )
เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง

การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
• การปลูกพืชหมุนเวียน
• ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
• ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค

3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) 


เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle
Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน

การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจายโดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำค้างได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูลแตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ
 การป้องกันและการกำจัด
• การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
• บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น
• ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้
• ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด

4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) 


เชื้อสาเหตุ  : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew
เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะอาการ :  อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง 
การป้องกันกำจัด :
• ใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3  ครั้ง
• ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ  เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน
• ใช้พันธุ์ต้านทาน

แมลงที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ ( Thrips , Haplothrips floricola Priesner )

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชตระกูลแตงหลายชนิด เช่น แตงโม เมล่อน โดยการดูดน้ำเลี้ยง และใช้ปากเขี่ยเซลให้เป็นแผลเพื่อดูดน้ำเลี้ยง การทำลายของเพลี้ยไฟต่อส่วนการเจริญเติบโต จะทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น เติบโตช้า พืชอ่อนแอ และทำให้ใบ ลำต้น แห้งตายได้ เพลี้ยไฟจะมีการแพร่กระจายโดยลม ทำให้การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด 
• ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการใช้สารเคมี โดยการใช้ ชอสแมค 30 ซีซี + สารน้ำมัน         ดีซีตรอน พลัส 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้สารเคมี อื่นๆ ควบคู่กันไปเช่น ทามารอน แอมมิรอน นูวาครอน อะโซดริน แลนเนท เมซูโรล

2. แมลงวันทอง ( Melon Flies , Dacus spp)

แมลงวันทองจะทำลายโดยการเจาะและวางไข่ที่ผล ตัวอ่อนถ้ามีการระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงเน่า หรือแก่ก่อนเวลา ทำให้ได้ผลมีคุณภาพต่ำ
การป้องกันกำจัด
• ใช้เมททิล ยูจินอล เป็นเหยื่อล่อ โดยทำการผสมกับ มาลาไทออน อัตรา 100 : 200 ฉีดเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณ 1-2 เมตร
• ฉีดพ่น เมซูโรล , ฟอริดอน 50 % EC อัตรา 0.2 % ดิปเทอเร็ก 80 % WP อัตรา 0.3 % Lebaycid 50 % EC อัตรา 0.26 % ใช้กระดาษห่อผลหลังจากผสมดอกแล้ว


3. เต่าแตง ( Cucurbit Leaf Beetle , Yellow Squash Beetle ) 

โดยปกติทั่วไปเต่าแตงจะมีสีของลำตัว 2 สี คือ ชนิดสีดำ ( Aulacopphola frontalis Baly ) และเต่าแตงชนิดสีแดง (Aulacopphola semilis Oliver.) เต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีทั้งสีแดง สีน้ำตาลเกือบดำ แต่สีแดงจะพบเห็นมากกว่า อย่างไรก็ตามในต่างประเทศลักษณะของเต่าแตงจะมีสี และ ลักษณะต่างกันออกไปเช่นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน การเข้าทำลายจะเข้าแทะกัดกินใบและยอดอ่อน นอกจากนี้เต่าแตงยังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสได้อีกด้วย
การป้องกันกำจัด
• ป้องกันโดยการใช้ น๊อคทริน 25 % อัตรา10 - 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
• การใช้สารเคมีชนิดอื่นๆเช่น เซฟวิน ธีโอดาน ทามารอน ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วัน

4. แมลงหวี่ขาว 

แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพืชตระกูลแตงค่อนข้างกว้างขวาง มีหลายชนิด เช่น Greenhouse whitefly
( Trialeurodes vaporariorum) Silverleaf whitefly ( Bemesia argentifolii ) โดยทั่วไปแมลงหวี่ขาวจะอยู่บริเวณใต้ใบอ่อน แมลงชนิดนี้จะเป็นพาหะของโรค ไวรัส ในพืชตระกูลแตงหลายชนิด

การป้องกันกำจัด 
• ใช้สารเคมีในการกำจัดเช่น เมธามิโดฟอส อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร
• สารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น ไบเฟนทริน  เพอร์มีทรีน เอนโดซัลแฟน (ไทโอดาน) ออกซามิล (ไวเดท แอล) อิมิดาโครพริด
หมายเหตุ : การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง ให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ความหนาแน่นของแมลง สภาพอากาศ อุณหภูมิ และผลเสียที่ได้รับจากโรคและแมลง สารเคมีควรใช้ในอัตรา กลาง – ต่ำ และควรฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น และงดการใช้สารเคมีทุกชนิดก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 – 10 วัน